กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11504
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Administrative factors affecting parent’s satisfaction with early childhood Educational Management of Schools under Pathum Thani Primary Education Service Area Office 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ เทพประทาน ประพฤติ, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศจี จิระโร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ การบริหารโรงเรียน--การมีส่วนร่วมของบิดามารดา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 (2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา และ (4) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 361 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับ และความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษามีค่าความเที่ยงเท่ากับ .99 และ .98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ครู การจัดการเรียนการสอน การบริการ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของโรงเรียนและชุมชน ค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นๆ (2) ความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ การพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการด้านสังคม และพัฒนาการทางด้านสติปัญญา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน ความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน และการบริการ ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาได้ร้อยละ 88.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11504 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License