กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11513
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The influence of quality of work life and happiness in work performance on commitment of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization Personnel |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลัดดาวรรณ ณ ระนอง วรรณภา ศรีมุกดา, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุขอรุณ วงษ์ทิม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร--ข้าราชการและพนักงาน--ความพอใจในการทำงาน คุณภาพชีวิตการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร (2) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร (3) ศึกษาระดับความผูกพันของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และ (4) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จานวน 250 คน คานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของยามาเน่ ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในการทางาน ความสุขในการทางาน และความผูกพันของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 .95 และ .86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ความสุขในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความผูกพันต่อองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (4) คุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสุขในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครได้ร้อยละ 58 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11513 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License