กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11528
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม ของสมาชิกสหกรณ์โคนมแม่โจ้ จำกัด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors related to Good Agricultural Practices for Dairy Cattle Farms of Maejo Dairy Cooperative Limited’s Members, San Sai District, Chiang Mai Province. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บดินทร์ วงศ์พรหม ธวัลรัตน์ ดิษบรรจง, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรินธร มณีรัตน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี--ไทย--เชียงใหม่ ฟาร์มโคนม--ไทย--เชียงใหม่ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการฟาร์มตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม 2) ปัญหาในการจัดการฟาร์มตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม และ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของสมาชิกสหกรณ์โคนมแม่โจ้ จำกัด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ สหกรณ์โคนมที่ต้องการส่งเสริมสมาชิกให้ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 สหกรณ์ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) คือ สมาชิกสหกรณ์โคนมแม่โจ้ จำกัด จำนวน 68 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีการจัดการฟาร์มตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม 7 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม บุคลากร สุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ สิ่งแวดล้อม และการบันทึกข้อมูล ร้อยละ 91.84, 91.54, 95.22, 98.04, 100, 88.97 และ 86.03 ตามลำดับ 2) ปัญหาในการจัดการฟาร์มตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีปัญหาองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม บุคลากร สุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ สิ่งแวดล้อม และการบันทึกข้อมูล ในระดับน้อยที่สุด 1.16±0.42, 1.19±0.48, 1.07±0.21, 1.02±0.08, 1.00±0.00, 1.20±0.59 และ1.15±0.37 ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการฟาร์มตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม ที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05 คือ เพศมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม และการบันทึกข้อมูล อายุมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม และการบันทึกข้อมูล อาชีพหลักมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม และการบันทึกข้อมูล อาชีพเสริมมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม ประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม และบุคลากร พื้นที่ฟาร์มมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม และการจัดการฟาร์ม เงินทุนที่ใช้ในการเลี้ยงโคมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม จำนวนโคนมที่เลี้ยงมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม บุคลากร สุขภาพสัตว์ และสิ่งแวดล้อม การได้มาของโคนมในฟาร์มมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม และบุคลากร และจำนวนแรงงาน ในการเลี้ยงโคนมมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบฟาร์ม และการจัดการฟาร์ม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11528 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License