กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11531
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนดงมัน ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | People participation in dongman community forest management, Kho Nuea Sub-district, Mueang Yasothorn District, Yasothorn Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดุสิต เวชกิจ สมศักดิ์ ทวินันท์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ การจัดการป่าไม้--ไทย--ยโสธร--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน โดยรอบป่าชุมชนดงมัน 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนดงมัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม ต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนดงมัน และ 5) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนดงมัน การวิจัยนี้เป็นแบบผสมวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนที่อาศัยรอบป่าชุมชนดงมัน ในปี พ.ศ.2563 ที่มีทั้งหมด 873 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 274 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไคสแควร์ และ 2)การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การประชุมกลุ่ม ประกอบด้วย คณะกรรมการป่าชุมชนดงมัน 25 คน และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่เกี่ยวข้อง 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพหลักทำนา มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาท/ครัวเรือน/ปี อาศัยอยู่ในหมู่บ้านมาแล้วเป็นระยะเวลา 51-60 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับป่าชุมชน 3-4 ช่องทาง ซึ่งรับรู้จากผู้นำชุมชนและเสียงประกาศตามสายของหมู่บ้าน ส่วนมากเป็นสมาชิกกลุ่มของหมู่บ้าน 1-2 กลุ่ม/ครัวเรือน ที่พบมากที่สุดคือกลุ่มเพาะชำกล้าไม้ มีความเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ส่งผลทำให้การอนุรักษ์ป่ามากขึ้น และใช้ประโยชน์จากป่าเพื่อเป็นแหล่งอาหารและหารายได้จากป่าชุมชน 2) ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนดงมัน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากทั้งหมด ทั้งในโดยภาพรวม และในทุกขั้นตอนของการมีส่วนร่วม ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การได้รับผลประโยชน์ และการติดตามประเมินผล 3) การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติ พบว่า ระดับการศึกษา รายได้หลัก ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารป่าชุมชน และการเป็นสมาชิกกลุ่มของหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนโดยรวมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 4) ปัญหาในการจัดการป่าชุมชนที่ประสบมาก คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการเกี่ยวกับป่าชุมชนดงมันโดยมากเป็นคณะกรรมการและผู้นำชุมชน การประชาสัมพันธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมยังไม่ทั่วถึง ขาดงบประมาณในการดำเนินการ ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้อปฏิบัติในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ หน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการจัดการป่าชุมชน และ 5) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน ได้แก่ การจัดเวทีชาวบ้านเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผน การปฏิบัติ การได้รับผลประโยชน์ และการติดตามประเมินผลการจัดการป่าชุมชน อย่างน้อยด้านละ 1 ครั้ง/ปี เพิ่มการประชาสัมพันธ์การสร้างการมีส่วนร่วม และขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนร่วมกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11531 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License