กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11557
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบประเมินมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพอาจารย์สาขาวิชาด้านธุรกิจการบินในสถาบันอุดมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of an evaluation model for professional competency standard of lecturer in aviation business program under higher education institution
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศิธร กาญจนสุวรรณ
อรัญญา พิสิษฐเกษม, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมคิด พรมจุ้ย
ภาสกร จันทน์พยอม
คำสำคัญ: การบิน--หลักสูตร
อาจารย์มหาวิทยาลัย--การประเมินความสามารถ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบประเมินมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพอาจารย์สาขาวิชาด้านธุรกิจการบินในสถาบันอุดมศึกษาการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระะ โดยระยะ 1 พัฒนารูปแบบประเมินมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพอาจารย์สาขาวิชาด้านธุรกิจการบินในสถาบันอุดมศึกษา มีขั้นตอนดังนี้ 1) ร่างรูปแบบประเมินโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน เครื่องมือการวิจัยเป็น ประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูล โคยหาความถี่ และวิเคราะห์เนื้อหา 2) ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบประเมิน โดยวิธีการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือการวิจัย มีดังนี้ (1) ประเด็นคำถามสำหรับการจัดสนทนากลุ่ม (2) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบประเมินตามมาตรฐานการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบประเมิน โดยทดลองใช้รูปแบบประเมินกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาด้านธุรกิจการบิน จำนวน 1 แห่ง เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา ผู้ทคลองใช้คือ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าสาขาวิชา อาจารย์ จำนวน 11 คน และนักศึกษา จำนวน 166 คน เครื่องมือการวิจัยมีดังนี้ (1) รูปแบบประเมินมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพอาจารย์สาขาวิชาด้านธุรกิจการบินในสถาบันอุดมศึกษา (2) คู่มือประเมิน และ (3) ประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิผลของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดั่งนี้ 1) รูปแบบประเมินมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพอาจารย์สาขาวิชาด้านธุรกิจการบิน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) เป้าหมายของการประเมิน (2) มาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพ (3) วิธีประเมินและเครื่องมือ และ (4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ รูปแบบประเมินมีมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ และมาตรฐานด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีมาตรฐานด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมาก และ2) ประสิทธิผลของรูปแบบประเมิน พบว่า (1) รูปแบบประเมินมีประสิทธิผลด้านความเป็นประ โยชน์ สามารถสะท้อนแนวทางการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ แนวทางการสนับสนุนอาจารย์ ผลการประเมินสามารถนำมาใช้ต่อยอดงานด้านอื่น ๆ มีการรายงานผลการประเมินไปยังผู้เกี่ยวข้องกับการประเมินอย่างทั่วถึง (2) ผลการประเมินมีความตรงเชิงประจักษ์ และ (3) ผู้ทดลองใช้รูปแบบประเมินมีความพึงพอใจต่อรูปแบบประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11557
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168826.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons