กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11559
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of an instructional model to enhance competency focusing on Thai language communications of General Educational courses for undergraduate students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิรักษ์ อนะมาน
ปรภัสร์ มาสะอาด, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปุริมปรัชญ์ คณิณพศุตย์
ศุภวรรณ เล็กวิไล
คำสำคัญ: การวางแผนหลักสูตร
ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน
การประเมินหลักสูตร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ (3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป การดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ คณาจารย์ผู้สอนภาษาไทยระดับปริญญาตรี 300 คน ได้มาโดยการเลือกแบบโควตา และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิชาศึกษาทั่วไป 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ด้านการสื่อสารภาษาไทย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการสอนภาษาไทยระดับอุดมศึกษา 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบการสอนของผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการสื่อสารภาษาไทยก่อนและหลังการเรียน และการเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษากับเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชา GE.102 การใช้ภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ 1 กลุ่ม 50 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การทดสอบค่าที และระยะที่ 4 การปรับปรุงพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทย หมวดวิชาศึกษาทั่วไปฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทย หมวดการศึกษาทั่วไป ประกอบด้วย 3 สมรรถนะหลัก คือ 1) สมรรถนะภาคทฤษฎี 9 ตัวชี้วัด 2) สมรรถนะภาภาคปฏิบัติ 8 ตัวชี้วัดและ 3) สมรรถนะภาคคุณลักษณะ 5 ตัวชี้วัด (2) รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทย ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก (3) ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสออน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ด้านการสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสมรรถนะด้านการสื่อสารภาษาไทยได้ค่าเฉลียรวม 3 สมรรถนะหลัก เท่ากับ ร้อยละ 86.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11559
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168828.pdfเอกสารฉบับเต็ม40.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons