Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1155
Title: ภูมิปัญญาการทำและการอนุรักษ์น้ำบูดูของกลุ่มชาวบ้านหมู่ 1 ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Local wisdom of making and conserving of Budu sauce by the villagers in the village 1 in the Paseyawo Sub-district of Saiburee District in Pattani Province
Authors: สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ซูลกิปลี ยาบี, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
น้ำบูดู
ภูมิปัญญาชาวบ้าน--ไทย
การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาและวิธีการทําน้ำบูดู 2) ภูมิปัญญาในการทํา น้ำบูดู 3) ปัญหาอุปสรรคในการทําและการจําหน่ายน้ำบูดู 4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการทํา การจําหน่ายและการอนุรักษ์น้ำบูดูของกลุ่มชาวบ้านหมู่ 1 ตําบลปะเสยะวอ อําเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทําน้ำบูดู 5 ราย ผูู้เกี่ยวข้องกับการจําหน่าย 5 ราย ประชาชนผู้ซื้อ 5 ราย พาณิชย์จังหวัด ตลอดจนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการทําและการจําหน่าย 5 ราย รวม 20 รายโดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก แบบสังเกตุ แบบสํารวจชุมชน และการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของน้ำบูดูจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอสรุปได้ว่าเป็น ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดต่อๆ กันมาจากพ่อค้าและนักเดินเรือจากประเทศมาเลเซีย โดยน้ำบูดูอาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญจากปลาหมักดองที่ถูกลืมทิ้งไว้ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์การผลิตเกลือของปัตตานีเมื่อกว่า 400 ปีซึ่งชุมชนหมู่ 1 ตําบลปะเสยะวอได้ใช้เกลือจากแหล่งผลิตนี้ในการทําน้ำบูดูมาตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อประมาณกว่า 200 ปีส่วนวิธีการทําน้ำบูดูมี 6 ขั้นตอนคือ1) การเตรียมวัตถุดิบ การล้างทําความสะอาด การเทส่วนผสม การคลุกเคล้าส่วนผสม การหมักและการบรรจุภาชนะเพื่อจําหน่าย 2) ภูมิปัญญาการทําน้ำบูดูประกอบด้วย 9 ภูมิปัญญาคือ ภูมิปัญญาในการคัดเลือกวัตถุดิบวัสดุอุปกรณ์การล้างทําความสะอาด การตวงส่วนผสม การคลุกเคล้าส่วนผสม การจัดสรรสถานที่ในการทํา การควบคุมคุณภาพ การจัดการด้านแรงงานและเงินทุน และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 3) ปัญหาอุปสรรคในการทํา และการจําหน่าย ได้แก่ปัญหาเกี่ยวกับปลากะตักมีจํานวนน้อย มีราคาสูงวัสดุอุปกรณ์ปรับราคาสูงขึ้น การควบคุมคุณภาพปลาที่หามาได้มีสภาพไม่สด แรงงานขาดประสบการณ์ผู้ผลิตบางรายขาดการใส่ใจในขั้นตอนการผลิต คนรุ่นใหม่ไม่สนใจสืบทอดกิจการของครอบครัวการขาดสภาพคล่องทางการเงินเนื่องจากต้องใช้เวลาในการผลิตนาน ด้านสิ่งแวดล้อมมีปัญหาในเรื่องของกลิ่น ส่วนปัญหาในการจําหน่ายได้แก่ สถานที่จําหน่ายไม่แน่นอน ใช้เวลานานในการจําหน่าย พ่อค้าคนกลางกําหนดราคาซื้อไม่แน่นอน และภาครัฐมีการสนับสนุนส่งเสริมเฉพาะกลุ่ม 4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในด้านวัตถุดิบชาวบ้านจะหยุดผลิตในช่วงที่วัตถุดิบมีราคาแพงและหาอาชีพเสริมแทน ด้านวัสดุอุปกรณ์จะใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวังล้างทําความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งานและคิดซ่อมแซมด้วยวิธีการต่างๆ ด้านการควบคุมคุณภาพจะหลีกเลี่ยงการใช้ปลาที่ไม่สดและหากต้องใช้แรงงานที่ขาดประสบการณ์ผู้ทําน้ำบูดูจะต้องควบคุมการทํางานในทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง ด้านแรงงานจะมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามความถนัด และรวมกลุ่มกันผลิต ด้านสิ่งแวดล้อมจะเลือกสถานที่ผลิตที่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเท บ่อหมักควรต้องทําด้วยซีเมนต์ด้านสถานที่จําหน่ายผู้ผลิตควรจะออกจําหน่ายโดยตรง ผ่านตลาดนัด การออกร้านจําหน่ายตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางหน่วยงานของรัฐและเอกชนจัดหาให้ด้านพ่อค้าคนกลางผู้ผลิตจะมีการรวมกลุ่ม และตกลงซื้อขายในราคาที่เป็นธรรม ด้านการส่งเสริมจากหน่วยงานของรัฐ ทุกภาคส่วนควรจะร่วมมือกันส่งเสริมอาชีพ
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1155
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (2).pdfเอกสารฉบับเต็ม30.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons