กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11565
ชื่อเรื่อง: | ความฉลาดขององค์กรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The organizational intelligence of nursing division of Police General Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรทิพย์ เกยุรานนท์ พวงพยอม จันทรธาดา, 2497- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุรชาติ ณหนองคาย |
คำสำคัญ: | โรงพยาบาลตำรวจ การพยาบาล--การบริหาร บริการการพยาบาล--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วัดระดับความฉลาดขององค์กรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อความฉลาดขององค์กรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ ตามระดับการปฏิบัติงานและสายงานการพยาบาล (3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมความฉลาดขององค์กรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ มีความฉลาดขององค์กรโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายปัจจัย พบว่า กลุ่มงานพยาบาลมีความฉลาดขององค์กรในปัจจัยด้านวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบร่วมกัน ปัจจัยด้านความพร้อมที่จะเปลี่ยนแป่ลง ปัจจัยด้านหัวใจ ปัจจัยด้านการปรับให้เป็นทิศทางเดียวกัน ปัจจัยด้านการกระจายความรู้ และปัจจัยด้านการกดตันให้เกิดผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง (2) พยาบาลวิชาชีพที่มีระดับการปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานในสายงานการพยาบาลที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความฉลาดขององค์กรกลุ่มงานพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจไม่แตกต่างกัน (3) แนวทางส่งเสริมความฉลาดขององค์กร พยาบาลวิชาชีพได้ให้แนวทางการส่งเสริมความฉลาดขององค์กรครอบคลุมทุกปัจจัยทั้ง 7 ด้านข้อเสนอแนะการวิจัย การเสริมสร้างความฉลาดองค์กรการพยาบาลนั้น กลุ่มงานพยาบาลควรมีการประชุมเพื่อทบทวนและทำความเข้าใจกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ทุกปี ควรเสริมสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการทำงาน การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงานให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร และเกิดความก้าวหน้าในการทำงาน มีการปรับปรุงนโยบาย ระบบ ระเบียบ และวิธีการในการทำงานให้ยืดหยุ่นและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงาน ที่จะร่วมใจกันทำงานให้ประสบผลสำเร็จ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11565 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License