กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11566
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการบริหารงานของคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน : กรณีศึกษาสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านความปลอดภัยและสถานประกอบกิจการที่มีอุบัติเหตุเป็นศูนย์ 1,000,000 ชั่วโมง ในนิคมอุตสาหกรรม ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Management guideline of safety, health and environment committee: case study of the best manufacturing award and 1,000,000 hours zero accident in Industrial Estate in Tambol Map Ta Phut, Rayong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สราวุธ สุธรรมาสา ลักษณีย์ สีหะวงษ์, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปีติ พูนไชยศรี |
คำสำคัญ: | คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง การจัดการโรงงาน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมการความปลอดภัย (2) ศึกษากลยุทธ์สู่ความสำเร็จ ในการดำเนินงานของคณะกรรมการความปลอดภัย (3) ศึกษาความสัมพันธ์ในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ระหว่างคณะกรรมการความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือหน่วยงานความปลอดภัย ผลการศึกษา (1) รูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมการความปลอดภัย พบว่าโรงงานที่เข้า ทำการศึกษาส่วนใหญ่มีจำนวนกรรมการความปลอดภัย มากกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกรรมการความปลอดภัย จะเป็นตัวแทนของแผนก และพบว่า ส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ได้ครบสมบูรณ์ ทั้ง 10 ข้อตามกฎหมาย (2) สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ของคณะกรรมการความปลอดภัย พบประเด็นหลักดังนี้ คือ การให้ความสำคัญในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของผู้บริหาร การมีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจน การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอและเหมาะสม รวมทั้งการสนับสนุนให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในงานความปลอดภัยให้มากที่สุด และจากการศึกษา (3) ไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ หรือหน่วยงานความปลอดภัย และยังพบว่าหน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการความปลอดภัย เป็นอย่างดีจากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการดำเนินงานความปลอดภัย ดังนี้ ผู้บริหารควรส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยให้กับพนักงานทุกระดับ โดยการให้การศึกษาอบรม การดูงานนอกสถานที่ รวมถึงควรส่งเสริมให้มีมาตรฐานการดำเนินงานความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11566 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License