กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11583
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอกชนในกรุงเทพมหานค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing demands for studying English in private English language schools in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฬารัตน์ ปิ่นทำนัก, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน
โรงเรียนภาษาอังกฤษเอกชน
โรงเรียนคาทอลิก--ครู
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ (1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของบุคคลที่ศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอกชนในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเสนอแนวทางในการใช้ประโยชน์สำหรับการบริหารและจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษาในโรงเรียนภาษาอังกฤษเอกชนในกรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพโดยใช้วิธีทางเศรษฐศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้เป็นผู้เรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียนภาษาอังกฤษเอกชนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 597 ตัวอย่าง จากโรงเรียน 20 แห่ง ด้วยวิธีการสุ่มสิ่งตัวอย่างแบบแบ่งชั้นแบบง่ายโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้แบบจำลองความถดถอยโลจิสติก แบบ Binary ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอุปสงค์ต่อการศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนภาษาอังกฤษเอกชน ได้แก่ ปัจจัยอายุ รายได้ ค่าเล่าเรียน อาชีพ ระยะเวลาเรียนต่อหลักสูตร และเวลาที่ใช้ในการเดินทางจากบ้านไปสถานศึกษา ผลการศึกษาเชิงพรรณนาพบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจ ต่อผู้เรียนภาษาอังกฤษที่กำลังศึกษาอยู่และผู้เรียนที่ทำงานแล้ว ได้แก่ ความต้องการมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความชำนาญในการสอนและความเอาใจใส่ของผู้สอน ความมีชื่อเสียงของสถานศึกษา ความมีประสิทธิผลของหลักสูตร(จบแล้วนำไปปฏิบัติได้จริง) การจัดตารางเรียน วัน เวลาที่เหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของค่าเล่าเรียนกับเนื้อหาของหลักสูตรที่ทางโรงเรียนจัดสอน ระยะเวลารอการเปิดเรียนของหลักสูตรที่ลงทะเบียน การจัดระดับการเรียนที่เหมาะสมให้กับผู้เรียนโดยการทดสอบก่อนเรียน และเฉพาะกรณีของผู้เรียนที่กำลังศึกษาอยู่ ได้แก่ บิดามารดาและญาติพี่น้องให้การสนับสนุน ความต้องการเรียนเสริมหลักสูตรของสถานศึกษาหรือเสริมการทำงานของบริษัทที่ทำงานอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวย รายการส่งเสริมการขายและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดเสริมให้กับผู้เรียน ซึ่งผลการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงพรรณนาสามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารและการจัดการทรัพยากรของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพต่อไปได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11583
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77532.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons