กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11602
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายและความเต็มใจการยอมรับในการปล่อยมลพิษของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of willingness to pay and willingness to accept for emission pollutiion from two-stroke motorcycles in Amphuur Maung, Khon Kaen province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุไร ทัพวงษ์
จุฑารัตน์ บุญโท, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย
คำสำคัญ: จักรยานยนต์--แง่สิ่งแวดล้อม
ผู้ใช้รถจักรยานยนต์--ค่าธรรมเนียม
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายและความเต็มใจการยอมรับในการปล่อยมลพิษ ของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์โดยวิธีประเมินค่าโดยตรงภายใต้ตลาดสมมติ ของผู้ใช้รถจักรยานยนต์จำนวน 440 ตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุ และความถดถอยโลจิสติก การวิจัยครั้งนี้พบว่า(1) ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมในการปล่อยมลพิษ มีจำนวนเงินเฉลี่ยเท่ากับ 58 บาทต่อเดือนหรือ 692 บาทต่อปีผู้มีรายได้สูงมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนเงินที่ต่ำอาจมาจากสาเหตุความถี่ในการใช้รถจักรยานยนต์น้อยกว่ารถยนต์เป็นพาหนะในการเดินทาง และผู้ที่มีรายได้สูงจะเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงจึงมีความคิดว่ามลพิษทางอากาศไม่ได้เกิดจากรถจักรยานยนต์เพียงอย่างเดียว (2)ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะมีความเต็มใจที่จะยอมรับค่าชดเชย ในการเปลี่ยนรถจักรยานยนต์จาก 2 จังหวะเป็น 4 จังหวะ มีจำนวนเงินเฉลี่ยเท่ากับ 12,025 บาทต่อคัน อาชีพพนักงานขับรถจักรยานยนต์รับส่งสินค้า เป็นอาชีพที่เต็มใจยอมรับค่าชดเชยจำนวนเงินมากกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะรถจักรยานยนต์เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบอาชีพ และมีสถานะทางเศรษฐกิจไม่อยู่ในระดับที่ดี ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลกระทบต่อความเต็มใจจ่ายและการยอมรับการชดเชยประกอบด้วย รายได้ การศึกษา อาชีพ อายุของรถ ตลอดจนทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแนวทางการปฏิบัติในการจัดการมลพิษทางอากาศของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ มีหลายแนวทางคือ (1) มาตรการใช้แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ โดยการเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยมลพิษ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะและการอุดหนุนโดยการจ่ายเงินชดเชยให้สำหรับผู้ที่สมัครใจเปลี่ยนเป็นรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะหรือจัดโครงการเงินทุนกู้ยืมสำหรับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะเปลี่ยนเป็น 4 จังหวะ(2) มาตรการทางด้านกฎหมายโดยรัฐบาลจะต้องบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับมลพิษจากท่อไอเสียของยานพาหนะอย่างเข้มงวด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11602
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
79854.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons