กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11604
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการเกษตรนาแปลงใหญ่ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines of the paddy collaborative farming in Hunka District, Chainat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินดา ขลิบทอง กนกวรรณ เกษมณี, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
คำสำคัญ: | นา การส่งเสริมการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไป สังคม เศรษฐกิจ ของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าวแบบนาแปลงใหญ่ของเกษตรกร 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแบบนาแปลงใหญ่ของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานแบบนาแปลงใหญ่ 5) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 54.5 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.33 ปี การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.86 คน มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 26.74 ปี พื้นที่ทำนาถือครองเฉลี่ย 29.22 ไร่ ต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 4,269.4 บาท รายได้รวมของเกษตรกรในการผลิตข้าว (โดยไม่หักค่าใช้จ่าย) เฉลี่ย 165,392.31 บาท การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการส่งเสริมการเกษตร แบบนาแปลงใหญ่ส่วนใหญ่มาจากแหล่งสื่อกลุ่ม 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการเตรียมดินโดยไถตะ ไถแปร และคราด 1 ครั้ง เมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว หรือร้านค้า โดยส่วนใหญ่มีการผลิตข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตม 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแบบนาแปลงใหญ่ เกษตรกรส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติมากที่สุด โดยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการเข้าประชุมกลุ่มทุกครั้ง 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านสนับสนุนปัจจัยการผลิตมากที่สุด เรื่องปุ๋ยและสารชีวภัณฑ์ ด้านความรู้ในการผลิตข้าว เกษตรกรขาดความรู้เรื่องการใส่ปุ๋ยมากที่สุด ด้านการส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ เกษตรกรขาดความรู้ด้านการตลาดและการบริหารจัดการกลุ่ม ข้อเสนอแนะเกษตรกรต้องการให้เจ้าหน้าที่สนับสนุนด้านต่างๆ เช่น องค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต และประสานงานกับเครือข่ายต่างๆ 5) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับ วิธีการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพข้าว ผ่านช่องทางสื่อบุคคลในระดับมาก โดยวิธีการส่งเสริมในระดับมากที่สุด ได้แก่ การฝึกปฏิบัติ แนวทางการส่งเสริมโดยเจ้าหน้าที่ทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนด้านต่างๆ และให้องค์ความรู้ด้านต่างๆกับเกษตรกร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11604 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License