กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11611
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการน้ำมันเบนซินและการตัดสินใจเลือกบริโภคน้ำมันเบนซินตามคุณภาพออกเทน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of factors affecting demand for benzene and decision making selecting benzene according to octane quality |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัชฎาพร เลิศโภคานนท์ สันติ วิสุทธิ์สิริ, 2499- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย |
คำสำคัญ: | น้ำมันเบนซิน |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการบริโภคน้ำมันเบนซินและพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกบริโภคน้ำมันเบนซินตามคุณภาพออกเทน รวมทั้งศึกษาความคิดเห็น การรับรู้ และทัศนคติของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกบริโภคน้ำมันเบนซิน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อความต้องการน้ำมันเบนซินออกเทน 87 คือจำนวนรถจักรยานยนต์ ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 87 และออกเทน 91 ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อความต้องการน้ำมันเบนซินออกเทน 91 และออกเทน 95 คือ จำนวนประชากร จำนวนรถแท็กซี่ที่ใช้น้ำมันเบนซิน ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 91 และออกเทน 95 สำหรับความต้องการน้ำมันเบนซินออกเทน 95 มีปัจจัยจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเข้ามามีอิทธิพลเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งปัจจัย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการน้ำมันเบนซินออกเทนรวม คือจำนวนจักรยานยนต์ จำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จำนวนรถบรรทุกเล็กที่ใช้น้ำมันเบนซิน และราคาน้ำมันเบนซินออกเทนรวมเฉลี่ย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แห่งการกำหนด (R3 เท่ากับ 0.816 0.937 0.971 และ 0.802 ส่วนค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยของร้อยละความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (RMSPE) เท่ากับ 0.04 0.57 0.02 และ 0.59 ตามลำดับซึ่งแสดงถึงความสามารถของแบบจำลองความต้องการน้ำมันเบนซินออกเทน 87 ออกเทน 91 ออกเทน 95 และออกเทนรวม ใช้พยากรณ์ได้ใกล้เคียงความเป็นจริง นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมการเลือกบริโภคน้ำมันเบนซินตามคุณภาพออกเทนไม่ขึ้นอยู่กับเพศและระดับอายุของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยการเลือกบริโภคน้ำมันเบนซินของผู้บริโภคตามคุณภาพออกเทนจะมีเกณฑ์การตัดสินใจโดยให้ลำดับความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ คือ สิ่งจูงใจรอบข้าง ราคา การรณรงค์ของรัฐ คุณภาพออกเทน และคุณภาพเครื่องยนต์ แตกต่างกันออกไปตามประเภทของผู้ใช้น้ำมัน ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้คือ การลอยตัวราคาน้ำมันอย่างสมบูรณ์เป็นสิ่งจำเป็นที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ และผู้ใช้น้ำมันจะต้องร่วมมือกันรณรงค์ประหยัดการใช้น้ำมันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยการเติมน้ำมันที่มีค่าออกเทนเหมาะสมกับเครื่องยนต์ ตรวจสภาพเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนทัศนะคติการใช้ น้ำมัน รวมทั้งมีการจัดระบบขนส่งมวลชนใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะช่วยลดและประหยัดการใช้น้ำมัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11611 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License