กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11615
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกเม่าหลวงกับพืชเศรษฐกิจอื่นในเขตจังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparative study of the production cost and benefit between Mao Luang and the other cash crops in Sakon Nakhon province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมบัติ พันธวิศิษฏ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริพร สารคล่อง, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: เม่าหลวง--การปลูก--ต้นทุนการผลิต
พืชเศรษฐกิจ--ไทย--สกลนคร
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: ผลการศึกษาสภาพทั่วไป พบว่าเกษตรกรมีอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกพืชวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิตและการตลาดเม่าหลวงในจังหวัดสกลนคร (2) เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการปลูกเม่าหลวงกับพืชเศรษฐกิจอื่น และ (3) วิเคราะห์ความอ่อนไหวโครงการลงทุนปลูกเม่าหลวง มะม่วงและยางพาราการวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเม่าหลวง มะม่วงและยางพาราอย่างละ 30 ราย ในช่วงอายุการปลูก 1-15 ปี ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อหาผลตอบแทนทางการเงินของการปลูกพืชทั้งสามชนิดสวนและมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนของเกษตรกรผู้ปลูกพืชสวนทั้งสามกลุ่มมีค่าใกล้เคียงกัน เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงและยางพาราส่วนใหญ่ได้ยึดอาชีพการปลูกพืชสวนที่ตนปลูกเป็นอาชีพหลัก ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกเม่าหลวงส่วนใหญ่ปลูกเม่าหลวงในลักษณะเป็นอาชีพเสริมสำหรับแหล่งพันธุ์ พื้นที่ปลูก วิธีการปลูกและวิธีการให้น้ำ พบว่ามีความแตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของพืชแต่ละชนิด ด้านแหล่งเงินทุน พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงและยางพาราส่วนใหญ่กู้ยืมเงินลงทุนจากสถาบันการเงินของรัฐ ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกเม่าหลวงส่วนใหญ่ยังใช้ทุนของตนเองเป็นหลัก ด้านการตลาดและการผลิตเม่าหลวงในเขตจังหวัดสกลนคร ปี 2547 มีผลผลิตเม่าประมาณ 292 ตันผลผลิตส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 80 ได้จากธรรมชาติ ส่วนที่เหลือร้อยละ 20 ได้มาจากการผลิตที่มีลักษณะเป็นสวนเชิงธุรกิจ ผลผลิตที่ได้ถูกใช้บริโภคในครอบครัว จำหน่ายในตลาดท้องถิ่น ส่งโรงงานแปรรูป และส่งตลาดต่างจังหวัดร้อยละ 10 35 33 และ 22 ตามลำดับ นอกจากนี้ การลงทุนปลูกเม่าหลวงขนาดพื้นที่ 1 ไร่ ในช่วงการปลูก 1-15 ปี ให้ผลตอบแทนทางการเงินอยู่ในระดับสูง โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 47,132.70 บาท มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อค้นทุน (BCR) เท่ากับ 2.15 และอัตราผลตอบแทนของการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 20.72 ซึ่งผลตอบแทนทางการเงินมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนเช่นเดียวกับการผลิตมะม่วงและยางพารา ส่วนผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของการลงทุน พบว่าการลงทุนของการปลูกพืชทั้งสามชนิดมีความอ่อนไหวในด้านรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ซึ่งพบว่าการปลูกเม่าหลวงมีความเสี่ยงในการลงทุนอยู่ในระดับต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกมะม่วงและการปลูกยางพารา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11615
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
86350.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons