กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11619
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์อัตราการคุ้มครองที่แท้จริงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในช่วงปี พ.ศ.2540-พ.ศ.2546
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of the effective rate of protection on Thailand's electronic industry from 1997 to 2003
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาสินี ตันติศรีสุข
สุรัตวดี สุขคำ, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เกษร หอมขจร
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การคุ้มครองอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและลักษณะทั่วไปของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย 2) เพื่อวิเคราะห์อัตราการคุ้มครองที่แท้จริงของอุตสาหกรรมตู้เย็น อุตสาหกรรมเครื่องรับโทรศัพท์ และอุตสาหกรรมแผ่นวงจรพิมพ์ 3) วิเคราะห์ผลกระทบจากข้อตกลงทางการค้าของเขตการค้าเสรีอาเซียนที่มีผลต่อการคุ้มครองที่แท้จริงของอุตสาหกรรม (ERP) ผลการศึกษา พบว่า 1) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีการเติบโตของอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างงานและรายได้ เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่อาศัยเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และสภาวะของตลาด การลงทุนใช้เงินลงทุนสูง และจำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุน เทคโนโลยี ตลอดจนวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ใช้แรงงานจำนวนมาก โดยมีตลาดสำคัญ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น 2) จากการวิเคราะห์อัตราการคุ้มครองที่แท้จริง (ERP)ของตู้เย็น เครื่องรับโทรศัพท์ และแผ่นวงจรพิมพ์ ผลของการวิเคราะห์ ERP พบว่า อุตสาหกรรมตู้เย็นได้รับการคุ้มครองมาโดยตลอด โดย ERP เพิ่มสูงขึ้นจาก 25.38 เป็น43.30 ส่วน ERP ของเครื่องรับโทรศัพท์ในช่วงแรกมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 19.90 เป็น 33.75 และลดลงเป็น 13.55 ในปีพ.ศ. 2545 และเป็น 8.98 ในปี พ.ศ.2546 สำหรับ ERP ของแผ่นวงจรพิมพ์มีค่าลดลงในช่วงแรก คือ ลดจาก20.00 เป็น 9.78 จนถึงปี พ.ศ.2545 เพิ่มขึ้นเป็น 24.82 และลดลงเหลือ 16.06 ในปี พ.ศ.2546 3) เมื่อนำผล ERPเปรียบเทียบกับ ERP ของเขตการค้าเสรีอาเซียน พบว่าทั้งสามผลิตภัณฑ์มีค่า ERP ลดลง แสดงว่านโยบายการเปิดเสรีทางการค้านั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตราภาษีศุลกากร ข้อเสนอแนะ 1.) ผู้ผลิตของไทยต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการผลิต โดยเฉพาะด้านต้นทุนและปัจจัยการผลิต 2.) พัฒนาให้สามารถผลิตชิ้นส่วนทดแทนการนำเข้าและสามารถแข่งขันกับปัจจัยการผลิตที่นำเข้ามาได้ หรือลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง 3.) ด้านภาครัฐต้องดำเนินมาตรการสนับสนุนที่สำคัญ คือ การปรับปรุงทางด้านเทคโนโลยีและบุคลากร การปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการผลิตของภาคการผลิตให้ได้ผลยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11619
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
87491.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons