Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11620
Title: | การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบต้นทุนการให้สินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร |
Other Titles: | A comparative cost analysis of credit provided by small and medium enterprise development bank of Thailand with bank for agriculture and agricultural cooperatives |
Authors: | สมศักดิ์ มีทรัพย์หลาก บัณฑิตา ณ สงขลา, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา มนูญ โต๊ะยามา |
Keywords: | ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สินเชื่อ การวิเคราะห์การลงทุน |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างต้นทุนเฉลี่ย ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนรวมและปริมาณการให้สินเชื่อ และการประหยัดต่อขนาดของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นำมาเปรียบเทียบกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องแบบอนุกรมเวลาระหว่างปี 2535-2545 ในการศึกษาต้นทุนเฉลี่ยการให้สินเชื่อ ต่อการให้สินเชื่อ 100 บาท จากผลการดำเนินงาน พบว่าธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีต้นทุนเฉลี่ย 2.92 บาทประกอบด้วย ต้นทุนเงินทุน 0.87 บาท ต้นทุนดำเนินงาน 1.11 บาท ต้นทุนหนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 0.94 บาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีต้นทุนเฉลี่ย 10.38 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนเงินทุน 6.40 บาท ต้นทุนดำเนินงาน 2.90 บาท ต้นทุนหนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1.08 บาท การวิเคราะห์ใช้ทั้งแบบเชิงปริมาณและเชิงพรรณนา โดยอาศัยแบบจำลองถดถอยเพื่อหาสมการต้นทุนการให้สินเชื่อนำมาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนรวมกับปริมาณสินเชื่อ และหาช่วงการประหยัดต่อขนาดซึ่งจากผลวิเคราะห์สมการถดถอย พบว่า ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนรวมกับปริมาณสินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นแบบสมการถดถอยกำลังสามโดยมีค่า R2 = 0.991 และ 0.980 ตามลำดับ สอดคล้องกับเส้นต้นทุนตามทฤษฎี ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ต้นทุนการให้สินเชื่อจะอยู่ในระดับสูงเมื่อปริมาณสินเชื่อต่ำ และเมื่อปริมาณสินเชื่อเพิ่มขึ้น ต้นทุนดังกล่าวจะลดลง แต่หากปริมาณสินเชื่อเกินระดับที่เหมาะสมแล้ว ต้นทุนการให้สินเชื่อจะกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งสำหรับการประหยัดต่อขนาด พบว่า ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีช่วงที่เกิดการประหยัดต่อขนาดเท่ากับช่วงปริมาณสินเชื่อ 17,555 ล้านบาท "น้อยกว่า" ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่มีค่าเท่ากับ 287,495 ล้านบาท และการประหยัดต่อขนาดมากที่สุดของทั้งสองธนาคาร (ต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุด) มีค่าเท่ากับ 108.59 บาท และ 381.84 บาท (ต่อปริมาณสินเชื่อ 1 พันบาท) ตามลำดับ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11620 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License