กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11621
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพนขวาว ตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for Ban Phonkhwaow Community Rice Center Development, Chik Du Sub-district, Hua Taphan District, Amnat Charoen Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สัจจา บรรจงศิริ เณริน รูปแก้ว, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จรรยา สิงห์คำ |
คำสำคัญ: | ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพนขวาว--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพนขวาว 2) สภาพการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพนขวาว 3) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพนขวาว 4) สภาพการกระจายเมล็ดพันธุ์และการตลาดของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพนขวาวและ 5) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพนขวาว ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 55 ปี สถานภาพสมรส เป็นหัวหน้าครัวเรือน สมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน จบประถมศึกษา เป็นสมาชิกมาแล้ว 11-15 ปี เหตุผล คือ ต้องการมีเมล็ดพันธุ์ราคาถูก ได้รับความรู้และข่าวสาร รวมกันซื้อปัจจัยการผลิต สะสมทุนและสวัสดิการ สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน นาน้ำฝนมีพื้นที่ถือครองมากกว่า 20 ไร่ ใช้ผลิตเมล็ดพันธุ์ 1-5 ไร่ มีแรงงาน 1-2 คน ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผลผลิต 500 -1,000 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้ระหว่าง 25,001-50,000 บาทต่อปี หนี้สินมากกว่า 100,000 บาท ต้นทุนการผลิต 2,001-3,000 บาทต่อไร่ 2) สภาพการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชน ในด้านสมาชิก กรรมการ การคัดเลือกคณะกรรมการ การบริหารงานและการประสานงานเครือข่าย โดยภาพรวมสมาชิกมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ ในด้านการจัดการแปลงนา เครื่องมือ ปัจจัยการผลิต การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน ปลูก ดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การลดความชื้น การเก็บรักษา การตรวจสอบคุณภาพ การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) การกระจายเมล็ดพันธุ์ มีการกำหนดเป้าหมาย คุณภาพและปริมาณไม่เพียงพอ มีการประชาสัมพันธ์ การขายมีหลายวิธี การตลาดไม่มีกรรมการฝ่ายและไม่มีอำนาจต่อรองราคา 5) ปัญหาที่พบ ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านทุน ด้านการดำเนินงานและการบริหารจัดการศูนย์ๆ ด้านการตลาดการกระจายเมล็ดพันธุ์ โดยมีแนวทางการพัฒนา คือ การสร้างเครือข่ายการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การเพิ่มหลักสูตรการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ การจัดกิจกรรมเชื่อมโยงการตลาด การเข้าร่วมเครือข่ายนาแปลงใหญ่ การจัดตั้งกองทุนถั่วใช้ปรับปรุงบำรุงดิน การอบรมเรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม การขอสนับสนุนงบประมาณขุดสระน้ำขนาดเล็กในไร่นา การแต่งตั้งกรรมการดำเนินงานให้ครบทุกด้าน การศึกษาดูงานศูนย์ข้าวชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ และการประชาสัมพันธ์ศูนย์ข้าวชุมชนให้เป็นที่รู้จัก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11621 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License