กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1162
ชื่อเรื่อง: การศึกษารูปแบบ สัญลักษณ์ และความหมายในธนบดีของพระมหากษัตริย์ จากเงินพดด้วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 ถึง 4)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of the style and meaning of symbols representing the King on Pod Duang coins in the Rattanakosin period (King Rama I-King Rama IV)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มัลลิกา มัสอูดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวัฒนา ธาดานิติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มานิต หละบิลลา, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
เงินตรา--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาและรูปแบบของเงินพดด้วง (2) ความหมายในธนบดีของพระมหากษัตริย์ (3) ความหมายของตราสัญลักษณ์บนเงินพดด้วงสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 มีความเกี่ยวข้องกับธนบดีของพระมหากษัตริย์ ั วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระราชพงศาวดาร กฎหมายตราสามดวง และพระราชบัญญัติต่าง ๆ และวิเคราะห์ข้อมูลโดย พรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของเงินพดด้วง เงินพดด้วง เป็นเงินตราของไทย มีน้ำหนักและความบริสุทธิ์ กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน มีตราสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ประทับไว้เป็นสำคัญ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเงินตราในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่สมัยสุโขทัย และใช้เป็น ของที่ระลึกในงานพระราชพิธี เงินพดด้วงมีรูปแบบเป็นเงินรูปทรงกลมทำด้วยเงินบริสุทธิ์มีตรา ประทับที่ด้านบนและด้านหน้า (2) ความหมายใน “ธนบดี” ของพระมหากษัตริย์ คือ ความเป็นใหญ่ ในทรัพย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัวทรงใช้เป็นครั้งแรก ตราสัญลักษณ์ที่ใช้ตีกำกับ บนเงินพดด้วงสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 มีความหมายเกี่ยวข้องกับ “ธนบดี” คือ 1) พระมหากษัตริย์ เป็นเจ้าของทรัพย์ โดยการได้มาด้วยความชอบธรรม 2) พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชทรัพย์ใน การบริหารประเทศ และเกิดเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ (3) ความหมายของตราสัญลักษณ์บน เงินพดด้วง ด้านบนเป็นรูปจักร มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์คือ เป็นอาวุธของพระนารายณ์ หมายถึงพลังอำนาจ และมาจากความเชื่อของพุทธศาสนา คือ รูปธรรมจักร หมายถึง พระธรรมจักร กปปวัตนสูตร และในสมัยรัตนโกสินทร์หมายถึงราชวงศ์จักรี ด้านหน้าของเงินพดด้วงเป็นสัญลักษณ์ ของพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาลแตกต่างกัน รัชกาลที่ 1 ใช้ตราอุณาโลม มาจากความเชื่อของ ศาสนาพราหมณ์ คือ พระเนตรที่สามของพระอิศวร และมาจากความเชื่อของพุทธศาสนา คล้าย ดอกบัวและสังข์ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน รัชกาลที่ 4 ใช้มงกุฎ มาจากพระนามเดิม “เจ้าฟ้ามงกุฎ” นอกจากนี้บางตราสัญลักษณ์มาจากความเชื่อในพิธีกรรมการปลูกข้าว “ตราเฉลว” ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หมายถึงการคุ้มครองให้คลาดแคล้วจากสิ่งเลวร้าย เพื่อ ความเป็นสิริมงคล รูปสัญลักษณ์บนเงินพดด้วงเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และส่งเสริมสถานภาพในองค์พระมหากษัตริย์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1162
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (4).pdfเอกสารฉบับเต็ม21.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons