กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11640
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An analysis of the market structure and compettitive [i.e. competitive] behavior of newspaper industry in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มนูญ โต๊ะยามา ศิโรจน์ มิ่งขวัญ, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พรสิทธิ์ พัฒนานุรักษ์ |
คำสำคัญ: | หนังสือพิมพ์--ไทย การแข่งขัน--ไทย อุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ไทย (2) โครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ไทย (3) พฤติกรรมการแข่งขันด้านราคาในอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ไทย และ (4) พฤติกรรมการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคาในอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ไทย โดยการศึกษามีขอบเขตเฉพาะหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาไทยรายวันที่จัดพิมพ์ในส่วนกลาง และได้มีการจำหน่ายทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ไทยในปัจจุบันมีหนังสือพิมพ์รายวันจำนวน25 รายชื่อ จากผู้ประกอบการทั้งหมดจำนวน 16 ราย อยู่ในรูปแบบบริษัทจำกัด (มหาชน) 6 ราย บริษัทจำกัด 10 ราย ซึ่งในปี 2545 มูลค่าของสินทรัพย์ในอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการทั้ง 16 ราย มีค่าประมาณร้อยละ 0.33 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และพบว่าแนวโน้มการขยายของอุตสาหกรรมสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและการขยายตัวของอุตสาหกรรมโฆษณา นอกจากนี้อุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ยังเป็นธุรกิจแบบพิเศษที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเมือง การโฆษณา เทคโนโลยี และการตอบโต้ระหว่างผู้ประกอบการ สำหรับโครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์พบว่าเป็นตลาดผู้ค้าน้อยราย เมื่อพิจารณาจากดัชนีการกระจุกตัว ของอุตสาหกรรม จากผู้ประกอบการจำนวน 4 ราย ที่วัดจากรายได้และสินทรัพย์ ได้ค่าดัชนี CR เท่ากับร้อยละ71.77 และ 80.06 ค่าดัชนี HSI เท่ากับ 0.1466 และ 0.2199 ตามลำดับ ส่วนการแข่งขันด้านราคามีการเน้นขายสินค้าในราคาต่ำ การตั้งราคาสองส่วนแบบซ้ำซ้อน และขายปลีกกับขายสมาชิก สำหรับการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคา มีหลายประการ ได้แก่ การเน้นรูปเล่มและผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ที่มีความหลากหลาย ความสดของข่าว ความลึกซึ้งของข้อมูล ความง่ายของภาษาที่นำเสนอเพื่อการทำความเข้าใจ การคงไว้ซึ่งคอลัมนิสต์ที่ได้รับความนิยม การชิงปิดกรอบให้เร็วขึ้นเพื่อให้หนังสือพิมพ์ถึงมือผู้บริโภคเร็วกว่าฉบับอื่น การกดยอดขายคู่แข่ง และการเลียนแบบและโจมตีผู้ประกอบการรายเดิม นอกจากนี้ยังมีบริการรูปแบบใหม่ด้วยหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และมีการรวมตัวของผู้ประกอบการในหลายลักษณะ ตลอดจนการโฆษณาทั้งทางโทรทัศน์ และการโฆษณาประชาสัมพันธ์องค์กร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11640 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License