กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11666
ชื่อเรื่อง: ผลตอบแทนและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสมาชิกที่เป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Benefits and factors influencing on accumulative money rate determination in the provident fund among the Provincial Electricity Authority Employees
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกพล หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรัชญ์ ปราบปรปักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกวลี คณาวงษ์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินสะสม
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพัฒนาการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2) ศึกษาถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสมาชิกที่เป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ (3) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสมาชิกที่เป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผลการวิจัยพบว่า (1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีการพัฒนาการที่สูงขึ้นในด้าน จำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น จำนวนเงินกองทุนเพิ่มขึ้น และการลงทุนของบริษัทผู้จัดการกองทุนได้นำเงินไปลงทุนในตลาดเงินเพิ่มขึ้น (2) ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสมาชิกที่เป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มากกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยตนเอง โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีมูลค่าเงินในอนาคต (future value) มากกว่าการลงทุนด้วยตนเองโดยการฝากเงินประเภทเงินฝากประจำกับธนาคารพาณิชย์ และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสมาชิกที่เป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้แก่ อายุ อายุงาน การศึกษา ปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการกำหนดอัตราสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่อัตราพึ่งพิงมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการกำหนดอัตราสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยที่ตัวแปรอายุในเขต 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการกำหนดอัตราสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ เขต 3 ภาคใต้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรอายุงาน ในสำนักงานใหญ่ และ เขต 1 ภาคเหนือ, เขต 2 ภาคเหนือ, เขต 2และ เขต 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เขต 1 ภาคกลาง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการกำหนดอัตราสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ เขต 3 ภาคกลาง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ตัวแปรการศึกษา ในสำนักงานใหญ่ ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการกำหนดอัตราสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่เขต 3 ภาคเหนือมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับอัตราพึ่งพิงในเขต 3 ภาคกลางมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการกำหนดอัตราสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11666
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
109999.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons