กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11705
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์และพฤติกรรมของผู้บริโภคแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting demand and consumer's behavior of tablet computer in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทักษิณา พูลสวัสดิ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้และไม่ใช้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร 2)ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ3)พฤติกรรมของผู้บริโภคแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า 1)กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแท็บเล็ดคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 80) ผู้ใช้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-35 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ผู้ไม่ใช้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21-25 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท 2)ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ คือ ราคา โดยราคา 15,001-20,000 บาท และ 20,001-25,000 บาท มีความสัมพันธ์กับอุปสงค์ของแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ในทิศทางตรงกันข้ามซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ณ ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนราคาต่ำกว่า 10,000 บาท มีความสัมพันธ์กับอุปสงค์ของแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ณ ระดับนัยสำคัญ .05 3) พฤติกรรมของผู้บริโภคแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ใช้แท็บเล็ตยี่ห้อ Apple iPad เพราะเชื่อมั่นในคุณภาพของบริษัท ใช้เพื่อความบันเทิง ติดตามข้อมูลข่าวสาร และเพื่อการศึกษา ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ศึกษาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ซื้อด้วยเงินสด และซื้อจากศูนย์ตัวแทนจำหน่าย ผู้บริโภคเห็นว่าราคาแท็บเล็ดในปัจจุบันเหมาะสมกับคุณภาพสินค้า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจซื้อในระดับ "มาก" ด้านการจัดจำหน่าย มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับ "ปานกลาง"
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11705
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130267.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons