Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11711
Title: | การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดลำปาง |
Other Titles: | Economic and social cost-benefit analysis of farmers via the philosophy of sufficiency economy in Lampang Province |
Authors: | สมบัติ พันธวิศิษฏ์ แสงเดือน โพชนา, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ |
Keywords: | เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย--ลำปาง |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปด้านการผลิตทางการเกษตรเปรียบเทียบระหว่างเกษตรทั่วไปกับการเกษตรแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาเปรียบเทียบต้นทุน และผลตอบแทนจาการทำนา ระหว่างเกษตรกรแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับเกษตรกรทั่วไปและ 3) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตของการเกษตรแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับเกษตรทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรที่ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีสภาพทั่วไปด้านเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากเกษตรทั่วไปโดยพบว่าอายุเฉลี่ย ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนและอัตราการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินสูงกว่ากลุ่มเกษตรกรที่ทำการเกษตรทั่วไป แต่มีหนี้สินต่ำกว่า 2) เกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ 3,338.12 บาท รายได้ทั้งหมด 4,653.05 บาทต่อไร่มีผลกำไรสุทธิเป็นตัวเงิน 1,314.93 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับทำการเกษตรทั่วไปที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ4,799.91 บาทมีรายได้รวม 5,917.40 บาทต่อไร่มีผลกำไรสุทธิเป็นตัวเงินเท่ากับ 1,117.49 บาทต่อไร่ รวมทั้งการทำเกษตรแบบผสมผสานตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีผลได้ทางอ้อมทางด้านจิตใจ สังคม สุขภาพและการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และยังเกิดผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับครอบครัวและชุมชนอีกด้วย 3) ปัจจัยกำหนดปริมาณผลผลิตของเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ แรงงาน ปุ๋ยและสารชีวภาพป้องและกำจัดศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์และเนื้อที่เพาะปลูกโดยมีผลต่อผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ซึ่งปัจจัยที่กำหนดระดับผลผลิตคล้ายกับการทำเกษตรทั่วไปเพียงแต่มีผลของปัจจัยด้านเครื่องจักรที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตร่วมด้วยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11711 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
135298.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License