กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11726
ชื่อเรื่อง: | มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชั้นพนักงานสอบสวนของตำรวจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal measures for prevention and control of the coronavirus disease 2019 at the stage of the police inquiry official |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต จตุพร สอนวิทย์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณวิภา เมืองถ้ำ |
คำสำคัญ: | โคโรนาไวรัส โรคติดเชื้อ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2) ศึกษาตัวบทกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชั้นพนักงานสอบสวนของตำรวจ (3) ศึกษากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศฝรั่งเศส และประเทศอังกฤษ ที่เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (4) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศฝรั่งเศส และประเทศอังกฤษ ที่เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (5) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหากฎหมายและมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชั้นพนักงานสอบสวนของตำรวจ ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดและทฤษฎีทั่วไปของกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เจตนารมย์ของกฎหมายเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนที่อยู่ร่วมกันในสังคมของรัฐนั้น การบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายโดยทั่วไปมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนในด้านสุขภาพอนามัยที่ดี (2) กฎหมายไทยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ครอบคลุมถึงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้ด้วย ได้แก่ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ในการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับประชาชนในสังคมทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากกฎหมายไม่มีความชัดเจน (3) กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อของต่างประเทศมีความชัดเจน ได้แก่ กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และเครือรัฐออสเตรเลียได้มีการกำหนดบทลงโทษไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการแพร่เชื้อหรือจงใจแพร่เชื้อโรคติดต่ออันตราย ส่วนกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส และกฎหมายของประเทศอังกฤษไม่มีการบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการแพร่เชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงไว้ในประมวลกฎหมายอาญาโดยเฉพาะ แต่ได้นำกฎหมายอาญาที่มีอยู่ในเรื่องการทำร้ายร่างกายมาปรับใช้ (4) ตามกฎหมายไทยและกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสและกฎหมายของประเทศอังกฤษไม่มีการบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการแพร่เชื้อโรคติดต่อร้ายแรงไว้ในประมวลกฎหมายอาญาโดยเฉพาะ ส่วนกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และเครือรัฐออสเตรเลียได้บัญญัติกฎหมายและกำหนดบทลงโทษไว้ชัดเจน ในขณะที่กฎหมายไทยไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว (5) สมควรแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้ชัดเจน โดยนำหลักของการกระทำและกำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการแพร่เชื้อหรือจงใจแพร่เชื้อโรคติดต่ออันตราย มาบัญญัติไว้ในกฎหมายควบคุมโรคติดต่อเพื่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11726 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License