Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11728
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้ใช้บริการ ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Factors relating to consumer behavior of electronic payment using smartphones in Muang Chiang Rai District Area Chiang Rai Province |
Authors: | อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ เพิ่มเกียรติ กาวิลาวัน, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์--ไทย--เชียงราย การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการยอมรับเทคโนโลยีในการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสมาร์ทโฟน 2) พฤติกรรมการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสมาร์ทโฟน และ 3) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้ใช้บริการ ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จําแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์และการยอมรับเทคโนโลยี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้ที่เคยใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้ใช้บริการ ในเขตอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประชากร ไม่ทราบจํานวน วิธีกำหนดขนาดตัวอย่างใช้สูตรของวิลเลียม เจมเมลล์ โคชราน จึงได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20 - 30 ปี ศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และมีรายได้ 10,001 - 15,000 บาท โดยมี (1) การยอมรับเทคโนโลยีในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) พฤติกรรมการใช้บริการ ส่วนใหญ่ใช้บริการนําระค่าสินค้าอุปโภคบริโภค สถานที่ใช้แอพพลิเคชั่น คือ ที่บ้าน ความถี่ในการใช้บริการอยู่ระหว่าง 2-3 ครั้งต่อวัน ช่วงเวลาที่ใช้บริการอยู่ระหว่างเวลา 06.00 - 12.00 น. และใช้เงินในการชำระต่อครั้งต่ำกว่า 500 บาท และ (3) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสมาร์ทโฟน กับปัจจัยประชากรศาสตร์ พบว่า อายุ และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้บริการ สถานที่ ความถี่ ช่วงเวลา และจํานวนเงินในระดับสูงมาก โดยมีระดับความเชื่อมั่น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนพฤติกรรมการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านสมาร์ทโฟน กับปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า ด้านการรับรู้และเข้าใจประโยชน์จากการใช้งาน ด้านการรับรู้และเข้าใจความง่ายต่อการใช้งาน มีความสัมพันธ์กับความถี่ และจำนวนเงินในระดับสูง โดยมีระดับความเชื่อมั่น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11728 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 26.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License