กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11739
ชื่อเรื่อง: การใช้เถ้าลอยเป็นสารตัวเติมในยางรถชนิดที่ใช้ความเร็วต่ำ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Using fly ash as filler in low-speed vehicle tyre production
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ
อัตโยธิน อามาตย์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์
คำสำคัญ: เถ้าลอย
ยางล้อ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมบัติของยางคอมปาวด์เมื่อใช้เถ้าลอยเป็นสารตัวเติมแทนเขม่าดำและดินขาว (2) เปรียบเทียบสมบัติของยางคอมปาวด์ที่ใช้เถ้าลอยเป็นสารตัวเติมแทนเขม่าดำและดินขาวกับยางรถชนิดที่ใช้ความเร็วต่ำ และ (3) วิเคราะห์ต้นทุนการใช้เถ้าลอยเป็นสารตัวเติมในการผลิตยางล้อรถชนิดที่ใช้ความเร็วต่ำ ผลการศึกษาพบว่า (1) ยางคอมปาวค์ที่มีค่าเฉลี่ยโมดูลัส และค่าความด้านทานแรงฉีกขาด แตกต่างจากสูตรต้นแบบ ได้แก่ สูตรการทดลองชุดที่ 2 ที่ใช้เถ้าลอย 15 พีเอชอาร์ และสูตรการทดลองชุดที่ 3 ที่ใช้ดินขาว 10 พีเอชอาร์ ร่วมกับเถ้าลอย 10 และ 15 พีเอชอาร์ (p-value <0.05) ยางคอมปาวด์สูตรที่มีค่าความเค้นแตกต่าง จากสูตรต้นแบบ ได้แก่ สูตรการทดลองชุดที่3 ที่ใช้ดินขาว 10 พีเอชอาร์ ร่วมกับเถ้าลอย 15 พีเอชอาร์ (p-value < 0.05) สำหรับสมบัติการยึดตัว พบว่า สูตรต้นแบบไม่แตกต่างกับสูตรทดลองทุกสูตร (p-value<0.05) (2) เมื่อเปรียบเทียบสมบัติของยางคอมปาวด์สูตรทดลองกับยางรถชนิดที่ใช้ความเร็วต่ำ พบว่า สูตรทดลองชุดที่2 ที่ใช้เถ้าลอยแทนเขม่าดำในสัดส่วน 5,10 และ 15 พีเอชอาร์ และสูตรทดลองชุดที่ 3 ที่ใช้เถ้าลอย 5 พีเอชอาร์ ร่วมกับดินขาว 10 พีเอชอาร์ เป็นสูตรที่เหมาะสมสำหรับการผลิตยางรถเทรลเลอร์ชนิดเบา (ที 1) และ (3) เมื่อวิเคราะห์ราคาวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์พบว่า การนำเถ้าลอยไปใช้เป็นสารตัวเติมทดแทนเขม่าดำ ในสัดส่วน 15 พีเอชอาร์ สามารถลดต้นทุนได้ถึงร้อยละ 5.73และถ้าสามารถนำเถ้าลอยปริมาณ 12 ตัน มาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนเขม่าดำได้ทั้งหมด ก็จะลดต้นทุนวัตถุดิบได้กว่า 300,000 บาทต่อปี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 256
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11739
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons