กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11740
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development guidelines of agricultural learning centers in Wiang Chai district, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรรณิกา เครืออินทร์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ศูนย์การเรียนรู้
สินค้าเกษตร--ไทย--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคลสภาพสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้และแหล่งความรู้ของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นต่อประโยชน์ และความพึงพอใจต่อศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกร 4) ความแตกต่างด้านความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็น และความพึงพอใจของเกษตรกรที่ผ่านและไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรการเรียนรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร และ 5) ปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.86 ปี รายได้ทางการเกษตรเฉลี่ยต่อครัวเรือน 140,629.15 บาท/ปี หนี้สินของครัวเรือนเฉลี่ย 15,577.89 บาท/ปี 2) ความรู้เกี่ยวกับ ศพก.ของเกษตรกรที่ผ่านและไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรการเรียนรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรโดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด โดยคำตอบที่ตอบผิดมากที่สุด คือ ศพก.ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรม ศึกษาดูงานด้านการเกษตร และ มีการดำเนินงานเป็นจุดเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่เกษตรแบบแปลงใหญ่ แหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่เกษตรกรได้รับโดยภาพรวมอยู่ระดับมากโดยได้รับจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมากที่สุด 3) ความคิดเห็นต่อประโยชน์ของ ศพก. โดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็น การนำความรู้ไปปฏิบัติงานในแปลงของตนเอง เกษตรกรมีความพึงพอใจในด้านเกษตรกรต้นแบบมากที่สุด โดยเฉพาะในประเด็น การเป็นต้นแบบและมีความรู้ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ 4) ความแตกต่างด้านความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็น และความพึงพอใจของเกษตรกรที่ผ่านและไม่ผ่านการอบรม พบว่ามีความแตกต่างด้านแหล่งความรู้ ในประเด็นสื่อออนไลน์ อย่างมีนัยยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) ปัญหาของเกษตรกรโดยภาพรวมอยู่ระดับน้อยที่สุด โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับไม่มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของ ศพก. โดยเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในภาพรวมระดับมากที่สุดโดยเฉพาะในด้านการให้บริการเรื่องการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และเกษตรกรเสนอแนวทางพัฒนา ศพก. ในระดับมากที่สุด คือ การพัฒนา ศพก. สู่ระบบการเกษตรแบบครบวงจร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11740
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons