กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1174
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ของผู้นำครอบครัวในจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationships between health perception and health-promoting behaviors of family leaders in Chanthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณภา โพธิ์น้อย
รัตนะ สะอาด, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุจิตรา หังสพฤกษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมสุขภาพ
ครอบครัว--สุขภาพและอนามัย
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ๋อ (1) ศึกษาข้อมูลพึ๋นฐานของผู้นำครอบครัวในจังหวัดจันทบุรี (2) ศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพของผู้นำครอบครัวในจังหวัดจันทบุรี (3) ศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้นำครอบครัวในจังหวัดจันทบุรี (4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพึ้นฐานของผู้นำครอบครัวกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้นำครอบครัวในจังหวัดจันทบุรี และ (5) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้นำครอบครัวในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำครอบครัวในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้นำครอบครัวส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 55.8) อาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 41.5) รายได้เฉลี่ย 5,001-10,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 43.7) เป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ71.8) (2) ผู้นำครอบครัวมีการรับรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X =3.05) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้นำครอบครัวมีการรับรู้ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =3.50) และมีการรับรู้อุปสรรคของตนเองด้านพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับนัอย (X =1.99) (3) ผู้นำครอบครัวมี พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านบวกได้แก่ ด้านการออกกำลังกาย ด้านอาหารปลอดภัย ด้านอารมณ์ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และด้านอโรคยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X =2.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพทางบวก พบว่า ผู้นำครอบครัวมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอนามัยสิ่งแวดลัอม ด้านอารมณ์ ด้านอโรคยา และด้านอาหารปลอดภัย อยู่ในระดับมาก (X = 3.37,3.08,2.86 และ 2.78 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับน้อย ( X = 2.39) ส่วนพฤติกรรมด้านลบ คือ อบายมุข ผู้นำครอบครัวมีพฤติกรรมอยู่ในระดับน้อย (X =1.59) (4) ระดับการศึกษาของผู้นำครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้นำครอบครัวในจังหวัดจันทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) การรับรู้ด้านสุขภาพของผู้นำครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้นำครอบครัวในจังหวัดจันทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (คศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1174
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext 97454.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons