กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11759
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของการทำเหมืองแร่ทองคำ กรณีศึกษาอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of potential and competitiveness of the thai silk industry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์
กาญจนา ยาอุด, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศิริพร สัจจานันท์
คำสำคัญ: เหมืองและการทำเหมืองทองคำ--ไทย--เลย
ต้นทุนการผลิต
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนผลการศึกษาที่เกี่ยวกับผลกระทบภายนอกทางด้านกายภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำ และ 2) คำนวณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบภายนอกด้านสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยการวิเคราะห์ต้นทุนความเจ็บป่วยและต้นทุนของการหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วย ผลการศึกษาพบว่า 1) อุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ เป็นกิจการที่ส่งผลกระทบภายนอกต่อสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อลักษณะภูมิประเทศ อากาศ เสียง น้ำ ดิน ระบบนิเวศวิทยา และนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพ จากการปนเปื้อนสารพิษหรือโลหะหนัก 2) การคำนวณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผลกระทบภายนอกด้านสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย พบว่าต้นทุนความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีมูลค่ารวมสะสมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 ถึงปีงบประมาณ 2556 เท่ากับ 3,133,249 บาท และต้นทุนในการหลีกเลี่ยงและป้องกันความเจ็บป่วยมีมูลค่ารวมสะสมของ 1,047 ครัวเรือนของ 6 หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2556 เท่ากับ 577,680,281 บาทหรือ 82,525,754 บาทต่อปี หรือ 78,821 บาทต่อครัวเรือนต่อปี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11759
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141042.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons