กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11770
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกตั้งท้องถิ่นกับระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่เทศบาลตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Local election and patronage system in Bangbo Subdistrict Municipality of Samutprakan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขจรศักดิ์ สิทธิ
สุนิดา ตีระพิพัฒนกุล, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: การเลือกตั้งท้องถิ่น--ไทย--สมุทรปราการ
กลุ่มอิทธิพล
ระบบอุปถัมภ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการชนะการเลือกตั้งท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ (3) ผลกระทบของระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารประกอบกับการสัมภาษณ์ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบางบ่อ เป็นกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้นำชุมชนที่เป็นประธานชุมชน จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางบ่อ มีลักษณะการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลระหว่างกันที่มีแบบแผนมาจากวิถี ประเพณีและค่านิยมในการปฏิบัติทางสังคมมาเป็นบรรทัฐานการรองรับในการทำงานเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจซึ่งสามารถที่จะตอบแทนคืนกลับมาในรูปของ คะแนนเสียงจากชาวบ้าน (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการชนะการเลือกตั้งท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางบ่อ มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน ระหว่างความเป็นเพื่อน ความเป็นญาติ ความเป็นพวกพ้อง โดยนักการเมืองท้องถิ่น มีการหาเสียงเริ่มจากครอบครัวญาติพี่น้อง แล้วจึงนำไปสู่เพื่อน พวกพ้อง และการหาหัวคะแนน ที่มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันช่วยกันหาเสียงแบบลูกโซ่ มีการให้ช่วยกันลงคะแนนเสียงเนื่องจากความสัมพันธ์ใกล้ชิด (3) ผลกระทบของระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่น คือ การบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นที่กระจายความช่วยเหลือและดำเนินโครงการแบบแบ่งฝักฝ่าย เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้องก่อน และการแทรกแซงทางการเมืองระดับท้องถิ่นของนักการเมืองระดับชาติก่อให้เกิดลักษณะของความสัมพันธ์ที่แฝงไว้ด้วยระบบอุปถัมภ์บารมี ผลประโยชน์ทางการเมือง อำนาจ และผลประโยชน์ทางการเงิน ที่ต่างฝ่ายต่างแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ต่อกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11770
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
169373.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons