กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1178
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และการรับรู้ของผู้ป่วยต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วย กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationships between family members' and hypertension patients' knowledge and understanding of hypertension and the latter's awareness of family members' participative behaviors towards taking care of them and their self-healthcare behaviors
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชนีกร โชติชัยสถิตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณา รัชตะไพบูลย์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม --วิทยานิพนธ์
ความดันเลือดสูง--ผู้ป่วย--การดูแล
ความสัมพันธ์ในครอบครัว
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มืวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ของสมาชิกในครอบครัว และผู้ป่วยกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของผู้ป่วยต่อ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วยกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย ในจังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจการดูแลตนเองและการมีส่วน ร่วมในการดูแลผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3 ชุด โดยมีค่าความเที่ยงตรง 0.6552,0.6764 และ 0.9051 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยและ สมาชิกในครอบครัว สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย (2) การรับรู้ของ ผู้ป่วยต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วย สัมพันธ์กับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า อายุ ระยะเวลาที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ความสัมพันธ์ของญาติกับผู้ป่วย รายได้เฉลี่ย ระดับ การศึกษา การอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว สัมพันธ์กับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (คศ.ม.(การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1178
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext 97455.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons