กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11792
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคของการคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems and difficulties in witness protection in criminal cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
รติภัทร พานดวงแก้ว, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: พยานบุคคล--การคุ้มครอง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับพยานและการคุ้มครอง พยานบุคคลในคดีอาญา อันจะทำให้เข้าใจและพิจารณาเห็นถึงปัญหาหรือข้อบกพร่องในการคุ้มครองพยาน บุคคล ตลอดจนหาแนวทางปรับปรุง แก้ไขกฎหมายหรือมาตรการที่เหมาะสมต่อการคุ้มครองพยานบุคคล ของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อการคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พิจารณาได้ 3 ประการ คือ การรับรู้ถึงสิทธิของพยาน อันจะนำไปสู่การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การไม่ได้จัดตั้งหน่วยงานคุ้มครองพยานขึ้นโดยตรง สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งที่ผู้ปฏิบัติงาน คุ้มครองพยานเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และการตรวจสอบสุขภาพทางจิตของพยาน (ปัญหาทางจิต) ก่อนที่จะให้พยานได้รับความคุ้มครองภายใต้มาตรการคุ้มครองพยาน เพื่อให้แน่ใจว่าพยานสามารถ ที่จะให้การได้อย่างถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากและปัญหาการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายคุ้มครองพยานประเทศจีน ประเทศแคนาดาและประเทศแอลเบเนีย มีหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองพยานเป็นหน่วยงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสิ้น เพราะพิจารณาเห็นว่า การคุ้มครองพยานที่มีประสิทธิภาพและดีที่สุด จะต้องเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองพยานโดยตรง นอกจากนี้ ยังมีมาตรการตรวจสอบและประเมินผลสุขภาพทางจิตของพยานอีกด้วย ในส่วนของการแจ้งสิทธิ ของพยานให้แก่พยานทราบ ไม่ปรากฏว่าได้มีการกำหนดหรือบัญญัติไว้ โดยปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวนั้น ประเทศไทยยังไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานคุ้มครองพยานขึ้นโดยตรง สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึง มาตรการตรวจสุขภาพจิตและการแจ้งสิทธิแก่พยาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11792
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156162.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons