กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11801
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นของไอระเหยกรดไฮโดรคลอริกด้วยวิธีดูดซึม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency comparison for reducing hydrochloric acid vapor concentration by absorption method
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศริศักดิ์ สุนทรไชย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปฐวี จีรณราวุฒิ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มลพิษทางอากาศ--การป้องกันและควบคุม
กรดไฮโดรคลอริก--การดูดซึมและการดูดซับ
การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: เนื่องจากการขนถ่ายกรดไฮโดรคลอริกจากรถไปสู่ถังเก็บ ทำให้ไอระเหยกรดไฮโดร คลอริกที่อยู่ภายในถังเก็บถูกขับออกมาสู่บรรยากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพนักงานที่เกี่ยวข้องและ ชุมชนใกล้เคียง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างระบบบำบัดไอระเหยกรดไฮโดรคลอริก ด้วยวิธีการดูดซึม และ 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดไอระเหยกรดไฮโดรคลอริกโดยการ ดูดซึมด้วยน้ำและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ผลการศึกษา พบว่า 1) ถังระบบบำบัดที่ทำด้วยพลาสติกโพลีเอทิลีนสร้างขึ้นใช้หลักการ ดูดซึมกันระหว่างไอระเหยกรดไฮโดรคลอริกกับน้ำหรือสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งติดตั้ง อยู่บนโครงสร้าง สแตนเลสขนาด 1.05 ตารางเมตร ความสูง : ความกว้าง เท่ากับ 3.5 เมตร X 1.5 เมตร และ 2) ระบบการดูดซึมไอระเหยกรดไฮโดรคลอริกที่สร้างขึ้นมาสามารถบำบัดไอระเหยกรดไฮโดร คลอกริกได้ ระหว่างร้อยละ 9.80- 61.39 ทั้งนี้ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์จะสามารถบำบัดไอระเหย กรดไฮโดรคลอกริกได้เฉลี่ยร้อยละ 61.39 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงกว่าการใช้น้ำเป็นสาร ดูดซึมร้อยละ 34.90 เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ จะพบว่า ระบบบำบัดโดยใช้สารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์จะมีความคุ้มค่ามากกว่า เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการบำบัด คิดเป็น 676 บาท ต่อไอระเหยกรดไฮโดรคลอริก 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ณ สภาวะมาตรฐานที่อุณหภูมิ 25 องศา เซลเซียส ความดัน 1 บรรยากาศ) ถูกกว่าการใช้น้ำเป็นสารดูดซึม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11801
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156595.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons