กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11821
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารทางการเมืองในสังคมผู้สูงอายุกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political communication in the elderly society and the election of the Chief Executive of the Subdistrict Administrative Organization: a case study of Khok Charoen Subdistrict Administrative Organization, Thap Put District, Phang Nga Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขจรศักดิ์ สิทธิ
สุพิศ หอมหวล, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: การสื่อสารทางการเมือง
ผู้สูงอายุ--กิจกรรมทางการเมือง
การสื่อสาร--แง่การเมือง
การเลือกตั้งท้องถิ่น--ไทย--พังงา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุในตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา (2) เพื่อศึกษาลักษณะการสื่อสารทางการเมืองในสังคมผู้สูงอายุกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา (3) เพื่อศึกษาผลของการสื่อสารทางการเมืองในสังคมผู้สูงอายุต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผ่านการวิจัยเอกสาร และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม โดยใช้การสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้สูงอายุซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ซึ่งมาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จานวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการในการสื่อสารทางการเมือง ผู้สูงอายุสามารถรับรู้ข้อมูลการสื่อสารทางการเมืองที่หลากหลายอย่างเห็นได้ชัดและรวดเร็วมากขึ้น (2) การสื่อสารทางการเมืองในสังคมผู้สูงอายุต่อการเลือกตั้งได้มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในอดีต โดยรูปแบบการสื่อสารทางการเมืองรูปแบบเดิม คือ ผู้สมัครจะเดินหาเสียง ตามพื้นที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด วัด มัสยิด ศาสนสถานหรืองานกิจกรรมทางต่างๆ ที่ได้จัดขึ้น ส่วนรูปแบบการสื่อสารทางการเมืองรูปแบบใหม่ คือ ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบใหม่ในการหาเสียงเลือกตั้งมีการประชาสัมพันธ์ ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ทางเฟซบุ๊ค หรือไลน์ควบคู่กับการหาเสียงในรูปแบบการสื่อสารทางการเมืองรูปแบบเดิม (3) ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เห็นถึงความสำคัญของผู้สูงอายุจึงได้เน้นการหาเสียงในกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น เนื่องจากฐานะคะแนนเสียงในกลุ่มผู้สูงอายุสามารถเป็นตัวชี้ขาดผลการเลือกตั้งได้ แต่ปัญหาการสื่อสารทางการเมืองของผู้สูงอายุยังคงมีอยู่จากความสามารถทางเทคโนโลยี หรือปัญหาความเสื่อมถอยตามธรรมชาติของร่างกาย แต่ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวมีผลกระทบน้อยต่อแนวโน้มการสื่อสารทางการเมืองในรูปแบบใหม่ในหมู่ผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุไม่ใช่ผู้ที่ไร้ความสามารถทางเทคโนโลยีแต่อย่างใด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11821
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons