Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1183
Title: ประวัติศาสตร์การเมืองและสังคมมณฑลพายัพสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ : ศึกษาจากคร่าวรับเสด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร
Other Titles: The political and social history of MonthonPhayap in the reign of Prince Inthawichchayanon : a study from the Royal Welcome Khrao for Prince Phichitpreechakorn
Authors: มัลลิกา มัสอูดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณะ พ่วงรักษา, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: อินทวิชยานนท์, พระเจ้า
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
กษัตริย์และผู้ครองนคร--ไทย--เชียงใหม่
ไทย--ประวัติศาสตร์--ล้านนา, 2416-2440
เชียงใหม่--ประวัติศาสตร์
เชียงใหม่--การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติศาสตร์การเมืองของมณฑลพายัพ สมัย พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (2) ประวัติศาสตร์สังคมของมณฑลพายัพสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ โดยศึกษาจาก คร่าวรับเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากร ของพระยาพรหมโวหาร วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระราชหัตถเลขา ศุภอักษร สารตรา และจากเอกสารชั้นรอง ได้แก่ วิทยานิพนธ์ วรรณกรรมร่วมสมัยกับคร่าวฯ หนังสือ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติศาสตร์การเมืองมณฑลพายัพในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ สะท้อนภาพทางการเมืองการปกครองของกลุ่มเจ้านาย “เจ้าขันห้าใบ” และกลุ่มขุนนาง “เค้าสนามหลวง” รัชกาล ที่ 5 ทรงเริ่มเข้าไปมีอำนาจทางการปกครองเหนือกลุ่มอำนาจเดิมในมณฑลพายัพโดยการส่ง “ข้าหลวงสามหัว เมือง ”จากกรุงเทพฯ เข้ามาใน พ.ศ.2417 และส่ง “ข้าหลวงพิเศษ” เป็นผู้แทนพระองค์เข้ามาใน พ.ศ.2426 มีพิธีถือ น้ำพระพิพัฒน์สัตยาของหัวเมืองสำคัญของสยามที่เมืองกำแพงเพชร มีร่องรอยของการทำไม้สักที่เมืองลำปาง สภาพทางการเมืองในเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ราบรื่น (2) ทางด้านประวัติศาสตร์สังคม มณฑลพายัพสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์คร่าวสะท้อนภาพสังคมหลากหลาย ได้แก่ ชนชั้นในสังคมทั้งชนชั้น มูลนายและชนชั้นไพร่และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ระบบเงินตราที่ใช้ในมณฑลพายัพ ประตูเมืองในวิจัยนี้พบว่ามี การทำพิธีทูลพระขวัญซึ่งเป็นการให้เกียรติ และต้อนรับแขกเมืองที่เป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงจากสยามเป็นครั้ง แรก ประกอบด้วยวัฒนธรรมทางดนตรี ซึ่งใช้วงกลองคุม ประโคมนำขบวนรับเสด็จ ประเพณีสงกรานต์ซึ่งเป็น การขึ้นปีใหม่ ทั้งของไทยและล้านนา การใช้ฤกษ์ยามและปฏิทินทางจันทรคติ เป็นหลักฐานสำคัญในการระบุ วัน เดือน ปี เพื่อเปรียบเทียบกับทางสุริยคติ และวิจัยนี้มีการค้นพบหลักฐานใหม่ เรื่องผู้ที่นำของพระราชทาน จากรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้พระราชชายาเจ้าดารารัศมีไม่ใช่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากร
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1183
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (11).pdfเอกสารฉบับเต็ม22.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons