กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11854
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของวัยรุ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing factors affecting online purchasing decision of teenagers in Ubonratchatani Province during Covid-19 pandemic |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช พิมลสินี อุดมพันธ์, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การตลาด--การตัดสินใจ การซื้อสินค้า--การตัดสินใจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.การตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของวัยรุ่นจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2. ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าผ่านออนไลน์กับการตัดสินใจการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของวัยรุ่นจังหวัดอุบลราชธานี ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยประชากร คือ วัยรุ่นที่ซื้อสินค้าออนไลน์ในอำเภอเมือง และวารินชำราบ ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบตามสะดวก จำนวน 704 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 17 ปี รายได้เฉลี่ย 4,572.96 บาท ต่อเดือน การศึกษาปริญญาตรี และมัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีพนักเรียนนักศึกษา การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ให้ความสำคัญการสืบค้นข้อมูลและเปรียบเทียบสินค้ามากที่สุด รองลงมาคือ การรีวิวสินค้าก่อนซื้อ และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของวัยรุ่นในจังหวัดอุบลราชธานีช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านส่วนบุคคล คืออายุ และการศึกษา ด้านส่วนประสมทางการตลาด คือ การส่งเสริมการตลาด กระบวนการ ราคา และกายภาพ และด้านพฤติกรรมการบริโภคสินค้าผ่านออนไลน์ คือประสบการณ์ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11854 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License