กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1185
ชื่อเรื่อง: ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นออทิสติก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Knowledge, attitudes and practices of autistic children parents
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อำไพรัตน์ อักษรพรหม
วนัชชา เครือหิรัญ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศิริพร สุวรรณทศ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ออทิสติค
เด็ก--การดูแล
เด็ก--โรค
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความรู้ของพ่อแม่เกี่ยวกับอาการออทิสซึม (2) เพื่อศึกษาทัศนคติ และการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นออทิสติก และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของพ่อแม่เกี่ยวกับอาการออทิสซึมและทัศนคติกับการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นออทิสติก ประชากร คือ กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพ่อแม่ของเด็กออทิสติก โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากรทั้งหมด จำนวน 150 ที่เป็นพ่อแม่ของเด็กออทิสติกที่พาลูกมารักษาตัวที่โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ และโรงพยาบาลธนบุรึ 2 เครื่องมีอที่ใชัในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 0.715 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของ เพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่พ่อแม่มีความรู้เกี่ยวกับอาการออทิสซึมระดับตํ่า และใช้หลักการปฏิบัติในการดูแลเด็กออทิสติกด้วยการยอมรับ ให้ความรัก และความเอาใจใส่ ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีถูกเป็นเด็กออทิสติกอยู่ในระดับดี โดยพ่อแม่มีความคิดว่า เด็กออทิสติกสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ และอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ ถ้าได้รับการพัฒนาที่ถูกต้อง การพาลูกไปฝึกทักษะต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่สถานฝึกอยู่เป็นประจำ โดยไม่ได้ปล่อยหน้าที่ในการเลี้ยงดูเด็กออทิสติกให้กับพี่เลี้ยงรับผิดชอบทั้งหมด พ่อแม่มีการปฏิบัติต่อลูกออทิสติกอย่างเหมาะสมในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการปฏิบัติตัว พบว่า ความรู้เกี่ยวกับอาการออทิสชึมของ พ่อแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กออทิสติก และทัศนคติของพ่อแม่ที่มีถูกเป็นเด็กออทิสติกมีความสัมพันธ์ทางลบกับการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กออทิสติกที่ระรับนัยสำคัญทางสถิติ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (คศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1185
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext 99024.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons