กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11864
ชื่อเรื่อง: | การยกเลิกการรับตามธรรมจรรยาตามมาตรา 128 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Revocation of the acceptance on ethical basis Under Paragraph One of Section 128 of Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิริพันธ์ พลรบ ประกาฬ ตันสิทธิพันธ์, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี สินบน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการทุจริตและการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของต่างประเทศ และกฎหมายของประเทศไทย ในเรื่องการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด และการรับตามธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่รัฐ 3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดกรณีการรับตามธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่รัฐ 4) เสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางกฎหมาย กรณีการรับตามธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่รัฐตามมาตรา 128 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย เอกสารทางวิชาการ ได้แก่ หนังสือ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ และข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐวิสากิจและภาคเอกชน รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนถึงเอกสารทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลการศึกษา พบว่า 1) การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแม้ว่าเป็นการการรับตามธรรมจรรยาก็อาจเป็นการจูงใจให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ด้วยการมีความกดดัน การมีโอกาส การมีข้ออ้าง การมีผลประโยชน์ที่ทับซ้อนกัน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การพึ่งพิงระบบอุปถัมภ์มาอย่างยาวนาน 2) จากการเปรียบเทียบกฎหมายของต่างประเทศที่มีความเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีการรับตามธรรมจรรยานั้น บางประเทศถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ แม้แต่เพียงเล็กน้อยบางประเทศสามารถยอมรับได้บางส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทย 3) จากการวิเคราะห์ประกอบกับแผนปฏิรูปประเทศ กำหนดให้มีการนำนโยบายการงดการรับของขวัญ (No Gift Policy) มาใช้ แต่การยกเลิกการรับตามธรรมจรรยาในทันที อาจเกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายได้ จึงควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากวงจรกับดักการทุจริตคอร์รัปชัน 4) ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าในระยะแรก ควรใช้มาตรการทางบริหาร พร้อมทั้งการรณรงค์นโยบายดังกล่าวให้ทุกหน่วยงานรับทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด และระยะต่อไปให้นำมาตรการทางกฎหมาย โดยยกเลิกการรับตามธรรมจรรยาตามมาตรา 128 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11864 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License