Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11868
Title: ปัญหาการใช้มาตรการบังคับทางปกครองในการเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้เงิน
Other Titles: Problems on application of administrative enforcement measures to enforce of government officers who commit wrongful act to make the payments
Authors: อิงครัต ดลเจิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินตนา นุชสาคร, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การชดใช้ค่าเสียหาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับมาตรการบังคับทางปกครองในการเรียกให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้เงิน (2) ศึกษาหลักเกณฑ์ของกฎหมายในมาตรการบังคับทางปกครองในการเรียกให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้เงินของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศไทย (3)วิเคราะห์มาตรการบังคับทางปกครองในการเรียกให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้เงิน (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงมาตรการบังคับทางปกครองในการเรียกให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้เงินให้มีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร จากตารำ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมาตรการบังคับทางปกครองในการเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้เงินทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้อง คือ ทฤษฎีทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดทั้งในกฎหมายแพ่งและกฎหมายมหาชน (2) ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีหลักเกณฑ์ปรากฏในรัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรการบังคับในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ค.ศ.1953 สาธารณรัฐฝรั่งเศสปรากฎหลักเกณฑ์ในรัฐบัญญัติฉบับที่ 92 – 1476 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 1992 และประเทศไทยปรากฎหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (3) ในมาตรการบังคับทางปกครองดังกล่าว สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม สาธารณรัฐฝรั่งเศสกฎหมายกำหนดให้มาตรการบังคับทางปกครองในเรื่องดังกล่าวฝ่ายปกครองสามารถกระทำการโดยทำเป็นคำบังคับซึ่งไม่ต้องไปดำเนินกระบวนการทางศาลแต่มีผลเทียบเท่าหมายบังคับคดีของศาลและนำไปบังคับชำระหนี้ได้ทันทีซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่การใช้มาตรการบังคับทางปกครองอยู่ในอำนาจของหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ออกคำสั่งทางปกครองให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้เงินโดยหากไม่สามารถใช้มาตรการบังคับทางปกครองได้จะต้องเสนอศาลปกครองเพื่อพิจารณาต่อไป (4) สมควรแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 302 วรรคหนึ่ง (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเพิ่มข้อความตอนท้ายว่า “เว้นแต่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นโดยเฉพาะกำหนดไว้ให้อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี” ทั้งนี้ ควรให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะในการใช้มาตรการบังคับทางปกครองดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11868
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons