Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11898
Title: | การประเมินการใช้ระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารท้องถิ่นของเทศบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Evaluation of usage Electronic Local Administration Accounting System (e-LAAS) of municipality in Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์ ศรีสุดา เย็นใส, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | ระบบอิเล็กทรอนิกส์--การบัญชี--การประเมิน การบัญชี--โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เทศบาล--ไทย--นครศรีธรรมราช--การบริหาร. การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินการใช้ระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารท้องถิ่น (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคจากการใช้ระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารท้องถิ่น (3) เปรียบเทียบการประเมินการใช้ระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) เปรียบเทียบความคิดเห็นกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคจากการใช้ระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารท้องถิ่นของเทศบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารท้องถิ่นของเทศบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 270 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 240 คน สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเมื่อพบความแตกต่างทางสถิติใช้การเปรียบเทียบเชิงพหุคูณด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า (1) การประเมินระบบในด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การใช้งานระบบทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันระหว่าง ร ระบบงาน ได้แก่ ระบบงบประมาณ ระบบข้อมูลรายรับ ระบบข้อมูลรายจ่าย ระบบบัญชี และระบบบริหาร ส่วนด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การกำหนดแผนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ (2) ปัญหาและอุปสรรคจากการใช้งานระบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งข้อที่มีค่เฉลี่ยมากที่สุดคือ หน่วยงานไม่ได้ทดลองใช้ระบบก่อนการใช้งานจริง รองลงมา คือ ด้านการทำงานของระบบเกิดปัญหาการใช้งานไม่ได้อยู่บ่อยครั้งและไม่สามารถเปิดหน้าจอเพื่อบันทึก ข้อมูลและเปิดรายงานหลายๆ รายงานเพื่อเปรียบเทียบยอดพร้อมกันได้ (3) บุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีการประเมินการใช้ระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน และ (4) บุคลากรที่มีอายุงานแตกต่างกันมีปัญหาและอุปสรรคในการใช้งานระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11898 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
160376.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License