กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11902
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The relationship between the roles of school administrators for internal supervision and teacher performance based on teacher professional standards in schools under the Secondary Educational Service Area Office Surin |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เก็จกนก เอื้อวงศ์ วิภาภรณ์ วิเศษวงษา, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อรรณพ จีนะวัฒน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้บริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำนวน 346 คน ได้มาโดยสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในและการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูในสถานศึกษาซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 และ .79 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) บทบาทของผู้บริหารในการนิเทศภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนงานการนิเทศ ด้านการปฏิบัติงานนิเทศ และด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ และด้านที่อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นผู้นำการนิเทศ ด้านการให้การสนับสนุน ด้านการติดตาม และด้านการประเมินผล 2) การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู และด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านที่อยู่ในระดับมาก คือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์มีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .61 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. ((บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11902 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License