กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11914
ชื่อเรื่อง: การบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Academic services for local development of the Office of Academic Resource and Information Technology, Rajabhat Universities in Southern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชุติมา สัจจานันท์
ประทุมพร วีระสุข, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชูศักดิ์ เอกเพชร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สถาบันอุดมศึกษา--ไทย (ภาคใต้)--บริการสังคม
การพัฒนาชุมชน--ไทย (ภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการบริหารและการดำเนินงานการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (2) ปัญหาและอุปสรรคการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และ (3) แนวทางการพัฒนา การบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี แหล่งข้อมูลหลักคือ เอกสารเกี่ยวกับการบริการวิชาการ จำนวน 150 เรื่อง ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน ผู้รับผิดชอบโครงการการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 122 คน และผู้ทรงคุณวุฒิเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ ทุกแห่งระบุเรื่องการบริการวิชาการหรือการพัฒนาท้องถิ่นไว้ในยุทธศาสตร์ของสำนัก และส่วนใหญ่ระบุไว้ในพันธกิจแต่ไม่ได้ระบุไว้ในนโยบายและวิสัยทัศน์ โครงการบริการวิชาการส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณแผ่นดินแต่ไม่ต่อเนื่องทุกปี มีรูปแบบการบริหารโครงการบริการวิชาการโดยสำนักมอบหมายงานให้หน่วยงานจัดทำข้อเสนอโครงการ พิจารณาอนุมัติโดยผู้อำนวยการสำนัก ผู้รับผิดชอบโครงการมีตำแหน่งบรรณารักษ์จำนวนใกล้เคียงกับตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ และจัดบริการวิชาการในลักษณะไม่คิดค่าใช้จ่าย ในรูปแบบการฝึกอบรม ขอบข่ายเนื้อหาเน้นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) ปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ด้านผู้บริหารมีปัญหางบประมาณไม่ต่อเนื่อง ไม่เพียงพอ บุคลากรมีภาระงานประจำมากและขาดแรงจูงใจ ผู้รับผิดชอบโครงการการบริการวิชาการมีปัญหางบประมาณการดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง การเบิกจ่ายงบประมาณ ภาระงานประจำมาก และขาดแรงจูงใจ (3) แนวทางการพัฒนาการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และการจัดการการบริการวิชาการ ที่มุ่งสู่การเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การบริหารจัดการในรูปแบบหุ้นส่วนความร่วมมือ การบูรณาการองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสนับสนุนพันธกิจการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล โดยมีพลังขับเคลื่อนความสำเร็จจากมหาวิทยาลัย เครือข่ายของมหาวิทยาลัย และเครือข่ายสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11914
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons