กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11922
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer behavior in using Japanese restaurants at Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บริบูรณ์ ปิ่นประยงค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกฤษฎิ์ ตั้งเอียด, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--ภูเก็ต
ร้านอาหารญี่ปุ่น--ไทย--ภูเก็ต
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดภูเก็ต (2) ระดับความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดภูเก็ต และ (3) ความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดภูเก็ต การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต และเข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรของ คอแครน ได้ 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท ส่วนพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบรับประทานที่ร้าน ความถี่ในการเข้าใช้บริการไม่เกิน 1 ครั้งต่อเดือน ชำระค่าอาหารโดยเฉลี่ยมากกว่า 600 บาทขึ้นไป และเข้าใช้บริการบ่อยที่สุดในวันเสาร์-วันอาทิตย์ โดยใช้บริการในรูปแบบอาหารชุด (2) ระดับความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดภูเก็ต อยู่ในระดับมาก โดยผลการศึกษารายด้านพบว่าด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดภูเก็ตด้านค่าอาหารโดยเฉลี่ยต่อครั้งในการใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11922
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161314.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons