กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11938
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายกฎหมายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to being a learning organization of law Division of Bank for Agriculture and Agricultural Co-Operative
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รชพร จันทร์สว่าง
ศราภรณ์ เหลือเทพ, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การพัฒนาองค์การ
การบริหารองค์ความรู้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ ฝ่ายกฎหมายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (2) เปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายกฎหมาย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านองค์กรกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายกฎหมาย ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร การศึกษาครั้งนี้เป็ นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานของฝ่ายกฎหมาย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวนทั้งสิ้น 118 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายกฎหมายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยภาพรวมอยูในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านพลวัตรแห่งการเรียนรู้ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร ด้านการเพิ่มอำนาจแก่บุคคล และด้านการจัดการความรู้ มีระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (2) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับ การศึกษา ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายกฎหมายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ไม่แตกต่างกันแต่บุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่งปัจจุบัน ระยะเวลาการทำงาน ระดับรายได้ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในการเป็ นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายกฎหมายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แตกต่างกันอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10 (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านองค์กรกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายกฎหมายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พบว่า ปัจจัยด้านองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ปัจจัยด้านการดำเนินงานด้านการจัดการปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร และปัจจัยด้านการจูงใจ มีความสัมพันธ์กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ระดับสูงในทุกด้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11938
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152869.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons