กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11950
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมความสุขของครอบครัวพนักงานในองค์กรสุขภาวะ : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์กรต้นแบบด้านการส่งเสริมความสุข บริษัท ริกิการ์เม้นส์ จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Promotion of happiness for employees’ families in happy workplace : a case of happy workplace model at Riki Garments Company in Ratchaburi Industrial Estate |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สิทธิพร กล้าแข็ง, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วัลภา สบายยิ่ง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์ ความสุข การทำงานและครอบครัว สมดุลชีวิตการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมความสุขของครอบครัวพนักงานในองค์กรสุขภาวะ กรณีองค์กรสุขภาวะต้นแบบด้านการส่งเสริมความสุข บริษัท ริกิการ์เม้นส์ จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี แบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) ครอบครัวพนักงานที่ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรว่าเป็นครอบครัวที่มีความสุข มีบุตรอายุไม่เกิน 18 ปี อาศัยอยู่ด้วยกันและทำงานอยู่กับองค์กรแห่งนี้ไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 13 ครอบครัว (2) คณะทำงานนักสร้างสุข ที่มีบทบาทหน้าที่ดูแลส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงาน จำนวน 3 คน และ (3) ผู้บริหารองค์กรที่มีบทบาทกำหนดนโยบายส่งเสริมความสุขให้แก่ครอบครัวพนักงาน จำนวน 1 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแนวการสัมภาษณ์สำหรับครอบครัวพนักงาน คณะทำงานนักสร้างสุข และผู้บริหารองค์กร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า การส่งเสริมความสุขของครอบครัวพนักงานในองค์กรสุขภาวะ ที่ศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) การกำหนดนโยบายขององค์กรในการส่งเสริมความสุขให้กับพนักงานและครอบครัวพนักงานตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะที่จริงจังชัดเจน (2) การส่งเสริมความสุขของครอบครัวพนักงานมีกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบ และ (3) การมีส่วนร่วมของครอบครัวพนักงานในกิจกรรมสร้างสุขครอบครัวตามแนวทางความสุข 8 ประการ ทั้งนี้พนักงานองค์กรสะท้อนความคิดว่า พนักงานสามารถจัดสมดุลระหว่างชีวิตการงานและชีวิตครอบครัวได้ดีขึ้น มีความเครียดในครอบครัวน้อยลงและมีความสุขในการทำงานมากขึ้น สำหรับสมาชิกในครอบครัว ระบุว่า มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพิ่มมากขึ้น ได้รับทักษะความรู้ในการดำรงชีวิตที่เหมาะสม มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น มีความรักความอบอุ่นภายในครอบครัวมากขึ้น ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กรและตั้งใจทำหน้าที่ของตนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.บ. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11950 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Hum-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 30.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License