กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11956
ชื่อเรื่อง: ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกับการส่งเสริมประชาธิปไตยจังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sub-district Democracy Development Center (SDDC), Office of the Election Commission and the Promotion of Democracy in Lampang
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวลัญช์ โรจนพล
สุชานาถ ทำชาวนา, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตาบล (ศส.ปชต.)
ประชาธิปไตย--ไทย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิธีการส่งเสริมประชาธิปไตยของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำปาง (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมประชาธิปไตยของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำปาง (3) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมประชาธิปไตยของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง จากจำนวน ประชากร 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำปาง และผู้นำศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลในพื้นที่ กลุ่มสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง (กศน.) กลุ่มผู้นำท้องถิ่น กลุ่มผู้นำท้องที่กลุ่มประชาชนในพื้นที่กลุ่มผู้นำส่วนภูมิภาครวมทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) การส่งเสริมประชาธิปไตยของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำปาง มี 3 วิธี ได้แก่ 1) การสร้างความเป็นพลเมือง 2) การสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 3) การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย (2) ปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 1) ประชาชนไม่รู้สถานภาพและบทบาทของตนเองในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย 2) อิทธิพลของผู้นำที่มีบทบาทในการชี้นำ 3) ประชาชนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าเสนอปัญหาและความต้องการร่วมกันของชุมชน (3) แนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมประชาธิปไตย มี 2 แนวทาง ดังนี้ 1) ให้ประชาชนรู้สถานภาพและบทบาทของตนเองในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย 2) สร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยคนในชุมชนเอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11956
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons