กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1195
ชื่อเรื่อง: การใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนเขต 4
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information use for administration by community hospitals' administrators, region 4
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมสรวง พฤติกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาคร บุญดาว, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑารัตน์ เจริญชัยชนะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
สารสนเทศ--การศึกษาการใช้
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สภาพการใช้สารสนเทศ และ (2) ปัญหาการใช้สารสนเทศ เพื่อการบริหารของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนเขต 4 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนเขต 4 จำนวน 34 แห่ง ในจังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี ที่มีตำแหน่งผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มงานและหัวหน้างาน จำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยส่งทางไปรษณีย์ และได้รับกลับคืนมาร้อยละ 78.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารทุกตำแหน่งใช้เนื้อหาสารสนเทศ จำแนกเป็น 3 กลุ่ม 13 เรื่องในระดับ ปานกลาง โดยผู้อำนวยการใช้มากอันดับแรก คือ สารสนเทศทั่วไป เรื่อง นโยบาย แผนของกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลชุมชน ขณะที่หัวหน้ากลุ่มงานและหัวหน้างานใช้มากอันดับแรก คือ สารสนเทศทั่วไป เรื่อง การ พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล/สารสนเทศมาตรฐาน ผู้บริหารทุกตำแหน่งใช้สารสนเทศรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ในระดับปานกลาง โดยรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อำนวยการ และหัวหน้างานใช้มากอันดับแรก คือ เรื่องการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล/ สารสนเทศมาตรฐาน และหัวหน้ากลุ่มงานใช้มากอันดับแรก คือ เรื่อง การพัฒนาบุคลากร รูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผู้อำนวยการใช้มากอันดับแรก คือ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรค หัวหน้ากลุ่มงานใช้มากอันดับแรก คือ เรื่องการพัฒนาบุคลากร และหัวหน้างานใช้มากอันดับแรก คือ เรื่องการ บริการรักษาพยาบาล แหล่งสารสนเทศที่ผู้อำนวยการและหัวหน้ากลุ่มงานใช้มากอันดับแรก คือ หน่วยงานสังกัด กระทรวงสาธารณสุข ขณะที่หัวหน้างานใช้มากอันดับแรก คือ ผู้บังคับบัญชา/ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารทุกตำแหน่งใช้ วิธีการเข้าถึงสารสนเทศมากอันดับแรก คือ การใช้คอมพิวเตอร์สืบค้นสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ ผู้บริหารส่วนใหญ่ใช้ คือ เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข (2) ปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารที่ ผู้บริหารทุกตำแหน่งประสบ คือ แหล่งสารสนเทศไม่มีการประชาสัมพันธ์และไม่จัดทำเครื่องมือช่วยค้น สารสนเทศไม่ตรงความต้องการ และผู้บริหารมีข้อจำกัดเรื่องเวลา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1195
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (9).pdfเอกสารฉบับเต็ม14.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons