กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12003
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสิงห์บุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Behavior and motives for religious tourism of Thai tourists in Sing Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรีย์ เข็มทอง รัตนาวดี คีรีวรรณ์, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยว--แง่ศาสนา--พุทธศาสนา วัดกับการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว--ไทย--สิงห์บุรี การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤดิกรรมในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสิงห์บุรี และ (2) แรงจูงใจในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสิงห์บุรี การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 84,089 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน่โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิดิที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบเปรียบเทียบ เป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษา พบว่า (1) พฤติกรรมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ส่วนตัว พร้อมกับครอบครัว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เคยมาท่องเที่ยว ประมาณ 2-3 ครั้ง และเห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของวัดมีการแนะนำชักชวนให้เพื่อน และคนรู้จักมาท่องเที่ยว ส่วนใหญ่มาเที่ยวในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ลักษณะมาเช้า กลับเย็น หรือ ท่องเที่ยว 1 วัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่ค้างคืนมักพักตามสถานที่ที่ทางวัดจัดให้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เช่าบูชาวัตถุมงคล (2) แรงจูงใจในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสิงห์บุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าแรงจูงใจ ด้านสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านจิตวิทยาความเชื่อในศาสนา ด้านสถานภาพและเกียรติยศชื่อเสียง และสุดท้าย ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาตามลำดับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12003 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
153229.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License