Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12005
Title: คุณภาพการให้บริการของ ศูนย์บริการซ่อมแอร์รถยนต์ บางปลากดแอร์ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Service quality of car air-conditioner repair service center, Bang Plakot air-conditioner, Samut Prakan Province
Authors: ภูริพัฒน์ ชาญกิจ
ระเบียบรัตน์ มณีศรีบุษราคัม, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ศูนย์บริการซ่อมแอร์รถยนต์ บางปลากดแอร์--บริการลูกค้า
บริการลูกค้า
รถยนต์--การปรับอากาศ--การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการซ่อมแอร์รถยนต์ บางปลากดแอร์ จังหวัดสมุทรปราการ (2) ประเภทการให้บริการซ่อมระบบแอร์รถยนต์ ของศูนย์บริการซ่อมแอร์รถยนต์ บางปลากดแอร์ จังหวัดสมุทรปรากร ที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการ และ (3) ระดับคุณภาพการให้บริการของ ศูนย์บริการซ่อมแอร์รถยนต์ บางปลากดแอร์ จังหวัดสมุทรปราการ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือลูกค้าที่นำรถเข้ารับบริการ จำนวน 10,080 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการคำนวณ จากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ ระดับความ เชื่อมั่นร้อยละ 95 ใช้ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดตัวอย่าง 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีแอลเอสดี ผลการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการ พบว่า ด้านอายุ อาชีพ ระดับการศึกษารายได้เฉลี่ยต่อเดือน สิทธิการครอบครองรถที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน ด้านเพศ และสถานภาพที่แตกต่างกัน มีผลต่อคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกัน (2) ประเภทของการซ่อมระบบแอร์รถยนต์ที่ตกต่างกัน มีผลต่อคุณภาพการให้บริการ ค้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความเชื่อมั่น ด้านการเข้าใจ รู้จัก รับรู้ ความต้องการของผู้รับบริการมีผลต่อคุณภาพการให้บริการ ไม่แตกต่างกันและ (3) ระดับคุณภาพกรให้บริการด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการด้านความเชื่อมั่น ด้านการเข้าใจ รู้จัก รับรู้ ความต้องการของผู้รับบริการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12005
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154963.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons