กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12011
ชื่อเรื่อง: จริยศาสตร์การสื่อสารที่ปรากฏในวรรณคดีคำสอนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication ethics in Early Rattanakosin Era Thai Didactic Literature
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารในวรรณกรรม
วรรณคดีกับศีลธรรมจรรยา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาจริยศาสตร์การสื่อสารในวรรณคดี คำสอนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยศาสตร์การสื่อสาร ในวรรณคดีคำสอนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นกับแนวคิดด้านการสื่อสารในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารภายในบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารกลุ่มเล็ก เป็นแนวทางการวิเคราะห์และเปรียบเทียบศึกษา กับ จริยศาสตร์การสื่อสารที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีคำสอนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 4 เรื่อง คือเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เรื่องสวัสดิรักษา เรื่องเพลงยาวถวายโอวาท บทประพันธ์ของพระสุนทรโวหาร (ภู่) และโคลงโลก- นิติ ฉบับสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศรทรงชำระ เหตุที่มีการเลือกใช้วรรณคดีทั้ง 4 เรื่องใน การศึกษานั้น เป็นเพราะเป็นวรรณคดีที่ทราบประวัติความเป็นมาได้ชัด สามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นที่นิยม และเป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะคำสอนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่าง ตรงไปตรงมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) วรรณคดีคำสอนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่เลือกมาศึกษา นั้น ปรากฏจริยศาสตร์การสื่อสารระหว่างบุคคล โดยเฉพาะการพูดมากที่สุด โดยปรากฏอยู่ใน วรรณคดีคำสอนทุกเรื่อง รองลงมาคือจริยศาสตร์การสื่อสารภายในบุคคล โดยพบอยู่ในสวัสดิรักษา และโคลงโลกนิติ และที่พบน้อยที่สุดคือจริยศาสตร์การสื่อสารกลุ่มเล็ก พบในโคลงโลกนิติเพียง เรื่องเดียว และ (2) จริยศาสตร์การสื่อสารที่ถูกกล่าวถึงในวรรณคดีคำสอนที่เลือกศึกษานั้น โดยมาก มีความสัมพันธ์กับแนวคิดดังกล่าวในปัจจุบัน ได้แก่ การสื่อสารภายในตนเอง การพูด การฟัง และ การมีปฏิสัมพันธ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12011
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146918.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons