กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12027
ชื่อเรื่อง: การประชาสัมพันธ์ของวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public relations of Wat Boromrajakanjanapisek Anusorn Rungsan Sect Chinese Buddhist Temple
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ
พระเมธา อรรถวิโรจน์กุล, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์--การประชาสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ 2) อุปสรรคในการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ของวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ และ 3) เสนอแนะการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ของวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักมีจำนวน 5 ท่าน ได้แก่ เจ้าอาวาสวัดมังกรกมราวาส เจ้าอาวาสวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ 1 รูป 2 ท่าน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การประชาสัมพันธ์ของวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ดำเนินการโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่เป็นทั้งพระสงฆ์และฆราวาส โดยมีเป้าหมายเป็นศูนย์กลางประชาสัมพันธ์พุทธศาสนามหายานในประเทศไทย และมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่คำสอนและการปฏิบัติ รวมทั้งจุดเด่นของของคณะสงฆ์จีนนิกายมหายานให้กว้างขวาง และมีกระบวนการประชาสัมพันธ์ที่ประกอบด้วย (1) การวิจัย-การรับฟัง มีการดำเนินงานอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การรับฟังปัญหาผู้มาทำบุญและมาเยี่ยมชมวัด (2) การวางแผน-การตัดสินใจ โดยใช้แผนงานของวัดเป็นแผนประชาสัมพันธ์ (3) การสื่อสาร โดยมีสื่อในการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ วารสารธรรมจริยา โบรชัวร์ ป้ายไวนิล เว็บไซต์ วิทยุชุมชน ยูทูป สื่อกิจกรรมเพื่อสังคม กลุ่มเป้าหมายหลักในการประชาสัมพันธ์ คือ พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน (4) การประเมิน วัดยังไม่มีการประเมินอย่างเป็นทางการ 2) อุปสรรคในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของวัดที่สำคัญ คือ บุคลากรไม่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านการประชาสัมพันธ์ ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานตามกระบวน การประชาสัมพันธ์ทั้ง 4 ขั้นตอนได้ 3) ข้อเสนอแนะการประชาสัมพันธ์ของวัด คือ จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์มาปฏิบัติงานตามขั้นตอนการประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนประชาสัมพันธ์ และแผนกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ แต่งตั้งที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อให้คำปรึกษาด้านแผนกลยุทธ์และการประเมินการประชาสัมพันธ์ของวัด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12027
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143918.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons